อากาศร้อนจนแทบจะละลายแบบนี้ นอกจากทำให้หงุดหงิดแล้ว ยังอาจทำให้ป่วยได้อีกด้วย หนึ่งในโรคที่มาพร้อมหน้าร้อน อย่างโรคไข้หวัดแดด ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ถ้าเกิดมีอาการในช่วงนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีร้อน ๆ หนาว ๆ ไปหยิบชุดตรวจ ATK มาแยงจมูกกันแน่ ๆ แต่ก่อนจะกังวลใจ เราลองมาดูสถานการณ์ โควิดวันนี้ ที่มีข่าวการกลายพันธุ์ ของเชื้อโควิด ทำให้มีผู้ติดเชื้อ โควิด 19 เพิ่มขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ 2566 ที่ผ่านมา

ทางด้านสาธารณสุขระบุว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้นเป็นระลอกเล็ก ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโควิด สายพันธุ์ XBB.1.16 จากประเทศอินเดีย ไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ โดยมากพบในผู้ใหญ่ มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ น้ำมูกไหล ส่วนในเด็กจะแตกต่างตรงมีไข้สูง และมีอาการตาแดง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ แต่เจอในเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ไม่มีรายงาน

ส่วนใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นไข้หวัด หรือติดโควิดกันแน่ บล็อกนี้ OfficeMate จะพาไปเช็กว่าอาการของโรคไข้หวัดแดด แตกต่างจาก โควิด-19 อย่างไร และควรดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดแดดมากที่สุด

ไข้หวัดแดด คืออะไร?

ไข้หวัดแดด หรือ Summer Flu / Summer Cold เป็นการที่ร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ พร้อม ๆ กับที่ต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงในหน้าร้อน หรือเจอกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยแบบฉับพลัน ทำให้ร่างกายปรับสภาพตามไม่ทัน ระบายความร้อนออกได้น้อย เมื่อมีความร้อนสะสมอยู่ในร่างกายมากเกิน ก็เกิดเป็นอาการป่วยคล้ายไข้หวัดขึ้นมา

ใครเสี่ยงเป็นไข้หวัดแดดได้บ้าง

  • คนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น กรรมกร, ผู้รับจ้าง/รับเหมา, เกษตรกร, นักกีฬา ฯลฯ
  • เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน หรือโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้แล้ว คนที่เข้าออกในที่ที่อุณหภูมิต่างกันบ่อยๆ ก็เสี่ยงเป็นไข้หวัดแดดได้ เช่น การเดินเข้าออกระหว่างห้องแอร์สลับกับนอกอาคารที่อากาศร้อนจัด 

อาการของไข้หวัดแดด vs โควิด-19

ไข้หวัดแดด

อาการของไข้หวัดแดด

  • มีไข้ต่ำ ๆ ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ปวดหัวเป็นระยะๆ บางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรน
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • อ่อนเพลีย 
  • ริมฝีปากแห้ง ในปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ 
  • รู้สึกขมในปาก รสชาติอาหารเปลี่ยนไป บางคนมีอาการเบื่ออาหาร
  • บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • เป็นตะคริว
  • นอนหลับไม่สนิท
  • ตาแห้ง ตาแดง ปวดกระบอกตา 

*อาการตาแห้ง ตาแดง และปวดกระบอกตานี้ เป็นสัญญาณของการมีความร้อนสะสมในร่างกายมากเกินไป ซึ่งทำให้เราสามารถแยกอาการป่วยระหว่างไข้หวัดแดด และโควิด-19 ออกจากกันได้ นอกจากนั้น การเป็นไข้หวัดแดด จะไม่มีอาการเจ็บคอ ไม่มีน้ำมูกไหล และไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบเหนื่อย หายใจถี่ เพราะฉะนั้น ใครที่รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ ก็อย่าลืมเช็กอาการให้ดีก่อน จะได้รักษาตามอาการได้ถูกต้อง

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ป่วยในหน้าร้อน

หากเป็นไข้หวัดแดด ให้รักษาตามอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา คือ เช็ดตัวเพื่อคลายความร้อนให้ร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เยอะ หากมีไข้ หรือปวดหัวก็ทานยาลดไข้ และยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ

ส่วนการป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดแดดนั้น ทำได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานเกินไป หรือพกร่ม และใส่เสื้อคลุมกันแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับแสงแดดโดยตรง
  • สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เน้นเป็นเสื้อผ้าที่อ่อน เนื้อบาง และไม่รัดแน่น 
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากเหงื่อ 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่อากาศร้อนจัด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • กินผัก และผลไม้ เพื่อเติมวิตามินซีให้ร่างกาย
  • หากอยู่ในบ้าน ตอนกลางวันควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และใช้พัดลม หรือพัดลมไอเย็น แทนการเปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิภายในบ้านกับภายนอกบ้านต่างกันเกินไป ส่วนใครที่เดินตากแดดจัดๆ ก่อนเข้าห้องแอร์ ควรนั่งพักในที่ที่มีร่มไม้ หรือในที่ที่อากาศถ่ายเทซักพัก เพื่อให้ร่างกายปรับตัวตามอุณหภูมิได้ทัน  

อาการป่วยในช่วงนี้ ไม่ว่าจะมีน้ำมูก ปวดหัว หรือแสบคอเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้กังวลได้แล้ว เพราะฉะนั้นดูแลตัวเองให้ดี ทั้งการหลีกเลี่ยงแสงแดด ที่ที่อุณหภูมิสูง เพื่อป้องกันไข้หวัดแดด และสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันโควิด-19 จะได้ไม่มีอะไรต้องกังวลนะคะ

ช้อปพัดลม และพัดลมไอเย็น ไปเพิ่มความชุ่มฉ่ำในหน้าร้อน ปรับอุณหภูมิในห้องให้ต่ำลง เพื่อร่างกายที่เย็นสบาย และสดชื่น ช้อปเลยที่ OfficeMate ช้อปวันนี้ รับส่วนลดพิเศษ และของดีๆ มากมาย พร้อมบริการส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท!

บทความแนะนำ!