บรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging เป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะได้เห็นจากสินค้าและบริการ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม โดดเด่น และน่าสนใจ เพื่อสร้างความประทับใจแรกให้ลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทั้งหลายไม่ควรมองข้าม ซึ่งในปัจจุบัน นอกจากการแข่งขันกับคู่แข่งแล้ว ผู้ประกอบการยังควรคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค-บริโภคให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

วันนี้ OfficeMate มีทริคดีๆ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้คุณนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า ไปดูกันเลยค่ะ

ทำความรู้จักกับ Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์

ก่อนจะไปถึงขั้นตอนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เรามาทำความรู้จัก เพื่อเข้าใจลักษณะและประเภทของบรรจุภัณฑ์ให้มากขึ้นกันก่อนนะคะ

โดยปกติแล้วบรรจุภัณฑ์จะแบ่งตามการบรรจุและการขนส่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • บรรจุภัณฑ์ชั้นแรก (Primary Packaging) คือบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสและห่อหุ้มผลิตภัณฑ์เอาไว้ บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าและทำหน้าที่ปกป้องผลิตภัณฑ์ การออกแบบจึงควรออกแบบให้โดดเด่น มีลักษณะพิเศษ เหมาะสมกับการหยิบจับ และอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน
  • บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Secondary Packaging) คือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 ทำหน้าที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุดๆ ปกป้องผลิตภัณฑ์จากน้ำ แสงแดด ความร้อน ความชื้น และแรงกระแทก วัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในชั้นที่ 2 นี้ จึงควรเป็นวัสดุที่แข็งแรงและทนทานกว่าบรรจุภัณฑ์ชั้นแรก
  • บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Shipping Packaging) คือบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าเอาไว้เพื่อการขนส่งเท่านั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นหีบไม้ ลังกระดาษขนาดใหญ่ที่ระบุข้อมูลที่จำเป็นในการขนส่ง อย่างตราสินค้า รหัสสินค้า และสถานที่ส่ง เป็นต้น

ทริคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มัดใจผู้บริโภค ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

1.ออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นอันดับแรก

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

การเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคและเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เป็นหนึ่งในพื้นฐานที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ขั้นแรกเราต้องรู้ว่าสินค้าของเราจะขายให้กับใคร แล้วพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของคนกลุ่มนั้นเป็นแบบไหน ข้อมูลในส่วนนี้จะสามารถนำไปต่อยอดให้กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ว่า แล้วบรรจุภัณฑ์แบบไหนที่จะตอบโจทย์การใช้งานและทำให้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราพึงพอใจได้มากที่สุดนั่นเอง

2.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำ

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

นอกจากความสวยงามแล้ว การออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรให้ความสำคัญกับ ‘เอกลักษณ์’ เช่นกัน บรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ จะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นออกมาจากสินค้าชนิดเดียวกันที่อยู่ตามท้องตลาด ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะหยิบขึ้นมาดู ช่วยกระตุ้นความอยากซื้อได้ และเอกลักษณ์ยังทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าของเราได้อีกด้วย

3.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

หลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์มีฟังก์ชันและลูกเล่นที่โดดเด่น น่าสนุก แต่กลับต้องเสียกลุ่มลูกค้าไปเพราะใช้งานยาก ทั้งการเปิด-ปิดและการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม หากออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้กินลำบาก ถือแล้วเปื้อนมือ หรือหกเลอะเทอะได้ง่าย จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของเรานั้นเป็นภาระ การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงควรเน้นที่ความสะดวกสบายของผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะนอกจากจะสร้างความประทับใจได้แล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์การเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจผู้บริโภคได้อีกด้วย

4.ออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ให้ผู้บริโภครับรู้

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

นอกจากข้อมูลของสินค้าที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์แล้ว เรื่องราวของแบรนด์และสินค้า ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง ถือเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และสินค้าของเราได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ลองระบุเรื่องเล่าและแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์หรือการผลิตสินค้าลงไปบนบรรจุภัณฑ์ เรื่องราวเล่านั้นอาจสร้างความประทับใจ กระตุ้นความอยากซื้อและส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภคได้

5.นอกจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อย่าละเลย Brand Positioning

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

Brand Positioning คือการวางตำแหน่งของแบรนด์ว่าจะอยู่ไหนในท้องตลาด ซึ่งตำแหน่งของแบรนด์จะส่งผลกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้ากำหนดให้แบรนด์มีความหรูหรา สินค้าราคาสูง และวางขายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ บรรจุภัณฑ์ของเราก็ต้องหรูหราเพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งทางการตลาด เป็นต้น

มองหาบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ สามารถเข้ามาช้อปได้เลยที่ออฟฟิศเมท เรายังมีบริการผลิตงานพิมพ์คุณภาพ  ให้คุณได้มีฉลากและบรรจุภัณฑ์สวยๆ เอาไปเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า คลิกเลย! OfficeMate

อ่านบทความเพิ่มเติม

0 CommentsClose Comments

Leave a comment