ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ไม่ใช่เรื่องใหม่ในเมืองไทย เพราะตลอดปีที่ผ่านมา ก็มีการแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานอยู่เป็นระยะๆ และดูเหมือนว่าเจ้าฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM2.5 นี้ จะพุ่งสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวมากกว่าฤดูอื่นๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ  

ทำไมค่าฝุ่น PM2.5 ถึงพุ่งสูงขึ้นในช่วงหน้าหนาว?

ตามปกติแล้วอากาศที่อยู่บริเวณเหนือพื้นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า และอากาศจะเคลื่อนตัวจากบริเวณที่อุณหภูมิสูงไปยังอุณหภูมิต่ำ (พื้นดิน → ท้องฟ้า) หมายความว่าในภาวะปกติ อากาศเหนือพื้นดินที่มีอุณหภูมิสูงจะเคลื่อนตัวขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และจะพัดพาเอาฝุ่นละออง ควัน และสิ่งอื่นๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศลอยขึ้นไปด้วย  

PM2.5
ภาวะอุณหภูมิผกผัน

แต่ในช่วงฤดูหนาว หรือช่วงปลายฤดูหนาว ประเทศไทยของเราจะได้รับความกดอากาศสูงจากทางตอนเหนือแผ่ลงมาปกคลุม ทำให้อุณหภูมิในประเทศต่ำลง ส่งผลให้พื้นดินมีการคายความร้อนอย่างรวดเร็ว อากาศเหนือพื้นดินจึงเริ่มเย็นลงตามไปด้วย ทำให้การเคลื่อนตัวของอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าภาวะอุณหภูมิผกผัน (Temperature inversion) มีอากาศร้อนเข้าไปแทรกอยู่ตรงกลางกลายเป็นเกราะหนาคล้ายเพดานห้อง ทำให้อากาศไม่ไหลเวียนตามปกติ ไม่มีลม ไม่มีการถ่ายเทอากาศ หรือที่เรียกกันว่า ‘อากาศปิด’ ดังนั้น วันที่อากาศปิดซึ่งจะเกิดในช่วงหน้าหนาว จึงเป็นวันที่มีค่าฝุ่นละออง หรือ PM2.5 พุ่งสูง เพราะฝุ่นเหล่านี้โดนเพดานเกราะปิดกั้นเอาไว้ไม่ให้ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จึงสะสมกันอยู่บนท้องฟ้า และบางครั้งก็สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเมื่อถึงวันที่อากาศเปิด หรือความกดอากาศสูงพัดผ่านไป อากาศสามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ก็จะเบาบางลง  

ภัยร้ายและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

ผลกระทบ PM2.5

อย่าเพิ่งคิดว่า PM2.5 มีมานานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะแม้จะไม่เกิดผลกระทบแบบเฉียบพลัน ไม่มีอาการผิดแปลกใดๆ แต่ผลกระทบระยะยาวจาก PM2.5 นั้น ร้ายแรงกว่าที่คุณคิด 

ผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจและปอด

ด้วยความที่ PM2.5 มีขนาดเล็กมาก จึงสามารถเข้าไปได้ลึกถึงปอด ซึ่งใน PM2.5 นั้น มีสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า Polycyclic Aromatic Hydrocarbon : PAH หากสูดเข้าไปสะสมอยู่ปริมาณมากก็สามารถทำให้เกิดปอดอักเสบ และมะเร็งปอดได้

ผลกระทบจาก PM2.5 ต่อหัวใจ 

นอกจากเข้าไปได้ลึกถึงปอดแล้ว PM2.5 ยังสามารถเข้าไปปะปนอยู่ในกระแสเลือดได้ หากในหลอดเลือดมี PM2.5 สะสมอยู่ในปริมาณมาก จะทำให้เกิดตะกอนตกค้าง ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน

ผลกระทบจาก PM2.5 ต่อสมอง

เลือดสำคัญต่อสมอง แต่เลือดที่เต็มไปด้วยมลพิษอย่าง PM2.5 จะมีความหนืด ส่งผลให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในสมอง หรือเกิดเส้นเลือดในสมองตีบ นำไปสู่การเป็นอัมพาต หรือเสียชีวิต 

ผลกระทบจาก PM2.5 ต่อหญิงมีครรภ์

งานวิจัยหลายชิ้นจากทั่วโลก บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า PM2.5 นั้น อันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ และลูกในท้อง หากคุณแม่สูด PM2.5 เข้าไป อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงต่อการแท้ง ทั้งยังทำให้ทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อย ติดเชื้อได้ง่าย หรือเป็นโรคออทิสซึม

ผลกระทบจาก PM2.5 ต่อผู้สูงอายุ 

แม้ทุกคนจะเสี่ยงได้รับผลกระทบร้ายแรงจาก PM2.5 แต่กลุ่มผู้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มเสื่อมถอย มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงได้มากกว่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ในวันที่อากาศปิดหรือมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ควรให้ผู้สูงอายุอยู่แต่ในบ้าน หรืออาคาร และสวมหน้ากาก N95 ตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน 

ผลกระทบจาก PM 2.5 ต่อคนที่มีโรคประจำตัว

สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว อย่างภูมิแพ้ หรือหอบหืด อาจได้รับผลกระทบแบบเฉียบพลันจาก PM2.5 ได้แก่ หายใจลำบาก มีน้ำมูก เกิดอาการไอ เจ็บคอ เลือดกำเดาไหล ตาบวมแดง มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ทั้งยังอาจทำให้โรคประจำตัวกำเริบ นำไปสู่อันตรายร้ายแรงอย่างการเสียชีวิตได้   

3 ข้อแนะนำจาก OFM Blog เพื่อให้คุณรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ในช่วงหน้าหนาว

1. เช็คปริมาณฝุ่นละอองก่อนออกจากบ้าน

แนะนำให้ทุกคนคอยเช็กข่าว PM2.5 จากสื่อต่างๆ หรือตรวจดูปริมาณฝุ่นละอองในอากาศก่อนออกจากบ้าน โดยเช็กจากดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI (Air Quality Index) สามารถเช็กได้ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นบนมือถือ แต่สำหรับใครที่อยากเช็กคุณภาพอากาศในพื้นที่แบบเรียลไทม์ OfficeMate แนะนำเครื่องวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ Smartmi PM2.5 Air Detector จากแบรนด์ Mi ขนาดเล็กกระทัดรัด มีเซนเซอร์แบบเลเซอร์แม่นยำสูง สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง แสดงผลบนหน้าจอ LED อ่านค่าง่าย มีแถบสีบอกสถานะ ได้แก่ สีเขียว = อากาศดี, สีส้ม = มีมลพิษในอากาศไม่รุนแรง และสีแดง = มีมลพิษในอากาศรุนแรง คุณสามารถเช็กคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้านได้ หรือจะพกพาติดตัวไปเช็กคุณภาพอากาศในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เช่นกัน

2. เช็คประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ และไส้กรองเครื่องฟอกอากาศ

สำหรับใครที่เคยซื้อเครื่องฟอกอากาศเอาไว้แล้ว ให้เช็คว่าคุณภาพของไส้กรองเครื่องฟอกอากาศยังทำงานได้เต็มที่หรือไม่ โดยเช็คได้จากเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ๆ บางรุ่น ที่สามารถเช็คว่าเหลืออีกกี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะต้องเปลี่ยนไส้กรองฯ ใหม่ หรือหากเครื่องฟอกอากาศไม่สามารถแจ้งเตือนได้ ให้ลองตรวจสอบที่ไส้กรองเครื่องฟอกอากาศในเครื่องว่า มีปริมาณฝุ่นเยอะเพียงใด ถ้าเยอะมาก อาจจะถึงรอบที่ต้องเปลี่ยนแล้ว หรือทางที่ดีที่สุด ในกรณีที่จำไม่ได้ว่าใช้นานขนาดไหน คือเปลี่ยนไส้กรองฯ ใหม่ เพื่อให้เครื่องฟอกอากาศทำงานได้อย่างเต็มที่

3. สวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากาก N95 หากมีความจำเป็นจะต้องอยู่ข้างนอกเป็นเวลานานๆ

ในวันที่อากาศปิด ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ควรงดออกจากบ้าน และงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องออกจากบ้านก็ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 ตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการสูดเอา PM2.5 เข้าสู่ร่างกาย 

หรือในกรณีบริษัท หรือออฟฟิศใด ที่มีลักษณะงานที่อยู่กับฝุ่นละออง เช่น งานที่อยู่บริเวณถนน ไซต์งานก่อสร้าง กลุ่มงานเหล่านี้ควรพิจารณาเลือกใช้หน้ากาก N95 จะสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยปกติ เพราะพนักงานกลุ่มนี้จะต้องรับฝุ่นจากงานที่ทำอยู่ และจากฝุ่น PM 2.5 ด้วย

ช้อปเครื่องวัดฝุ่นในอากาศ หน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ หรือ ไส้กรองเครื่องฟอกอากาศ ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate ช้อปวันนี้ส่งฟรี! เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก