การมาของโอไมครอนทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง แม้สถานการณ์ตอนนี้จะยังไม่วิกฤตเท่าระลอกที่แล้ว แต่มาเตรียมตัวให้พร้อม เผื่อฉุกเฉินติดโควิด-19 จะได้มีสติพร้อมรับมือทำตามขั้นตอนได้ถูกต้อง และไม่เสียเวลา 

ติดโควิดแล้วต้องติดต่อที่ไหน? ใช้สิทธิการรักษาอย่างไรได้บ้าง? จะเข้าระบบ Home Isolation ยังไง? ไปดูกันเลย

รู้ผลว่าติดโควิดแล้วต้องทำอย่างไร?

ผลการติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันได้ 2 วิธี คือ การตรวจด้วยวิธี RT-PCR และการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ซึ่งในตอนนี้ หากตรวจด้วยชุดตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก (2 ขีด = ติดเชื้อ) สามารถเอาผลตรวจไปยืนยันเพื่อขอเข้ารับการรักษา หรือเข้าระบบ Home Isolation ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ

*ในกรณีที่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ แนะนำให้กักตัว และตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรก 3-5 วัน หรือตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ แต่มีอาการ แนะนำให้ตรวจด้วยวิธี RT-PCR  

ข้อมูลและเอกสารที่ต้องเตรียม

  • บัตรประชาชน
  • ผลตรวจโควิด-19 แบบ PCR หรือ ATK
  • เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย หรือคนใกล้ชิดที่ติดต่อได้
  • สิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น บัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ 

ติดต่อเข้ารับการรักษาโควิด-19 ที่ไหนได้บ้าง?

หาเตียงโควิด-19

1.ติดต่อโรงพยาบาลในพื้นที่ หรือโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา

เมื่อยืนยันผลการติดเชื้อ วิธีแรก คือ เช็กสถานพยาบาลตามสิทธิของตัวเอง เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม เพื่อเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลเครือข่าย โรงพยาบาลจะทำการประเมินอาการ หากอาการไม่หนัก อาจให้ทำ Home Isolation หรือถ้าพื้นที่นั้นๆ มีศูนย์พักคอยชุมชน (Community Isolation) โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel โรงพยาบาลก็จะประสานงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตามความเหมาะสม

  • สิทธิบัตรทอง โทร. 1330 
  • สิทธิประกันสังคม โทร.1506
  • ข้าราชการ โทร. 02-2706400

2.กรณีต้องการทำ Home Isolation 

ผู้ติดเชื้อที่สามารถเข้าระบบทำ Home Isolation ได้ คือ ผู้ป่วยสีเขียวที่ติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง รวมถึงเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ผู้ปกครองสามารถดูแลด้วยตัวเองผ่านระบบ Home Isolation ได้ 

วิธีติดต่อเข้าระบบ Home Isolation 

  • วิธีที่ 1 : โทรติดต่อสายด่วนของแต่ละเขตพื้นที่ ในกทม. ติดต่อศูนย์เอราวัณ 1669 ต่อ 2 ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถติดต่อกับโรงพยาบาล สาธารณสุข หรือ อสม. ในจังหวัดนั้นๆ ได้เลย
  • วิธีที่ 2 : โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14
  • วิธีที่ 3 : ลงทะเบียนด้วยตัวเอง ในเว็บไซต์ crmsup.nhso.go.th ระบบจะทำการจับคู่หน่วยบริการที่อยู่ใกล้ เพื่อดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 
  • วิธีที่ 4 : แอดไลน์ @nhso หรือคลิก  https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19 และเลือกเมนูลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน 

หากลงทะเบียนด้วยตัวเองแล้วไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง ให้โทรติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากอาการเริ่มรุนแรง เช่น หายใจลำบาก ให้โทร. 1669 

3. กรณีต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน

ในกรณีที่ต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยจะต้องออกค่ารักษาเอง หรือเคลมประกันโควิดที่ทำไว้

4.ในกรณีติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง ใช้สิทธิ UCEP ในการรักษาฟรี

เกณฑ์พิจารณาการรับผู้ป่วยติดเชื้อเข้ารักษาฟรีในโรงพยาบาล ได้แก่

  • มีอาการหายใจติดขัด หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  • มีอาการซึม เหงื่อออก ตัวเย็น
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน 
  • มีอาการชัก 
  • แขนขาอ่อนแรง 
  • ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง เช็กด้วยปรอทวัดไข้
  • ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% เช็กได้โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

สรุปแล้วแนวทางการเข้ารับการรักษาโควิด-19

  • ติดเชื้อ และอาการรุนแรง → เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ฟรี
  • ติดเชื้อ อาการไม่รุนแรง / ไม่แสดงอาการ → โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา / โรงพยาบาลสนาม / ศูนย์พักคอยชุมชน / Hospitel / Home Isolation

สายด่วนโควิด-19 

หาเตียงโควิด-19

หากไม่สามารถติดต่อหาโรงพยาบาลได้ หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ให้โทรติดต่อสายด่วนที่ให้บริการข้อมูลโควิด-19 ดังนี้

  • สปสช. 1330 (เน้นพื้นที่ กทม.)
  • กรมการแพทย์ 1668
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 (เน้นพื้นที่ต่างจังหวัด)
  • ไลน์ @sabaideebot 
  • กรมควบคุมโรค 1422
  • ศูนย์เอราวัณ เฉพาะกทม. 1669
  • ไลน์ @BKKCOVID19CONNECT
  • กรมสุขภาพจิต 1323
  • เพจเส้นด้าย ช่วยประสานหาเตียง และบริการรถรับ-ส่งผู้ป่วย facebook : เส้นด้าย – Zendai

เตรียมตัวไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel

สำหรับคนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ออฟฟิศเมทมีเช็กลิสต์ของใช้ที่ควรเตรียมติดตัวไปด้วย ดังนี้

  • เสื้อผ้า ชุดชั้นใน เตรียมให้พอดีกับวันที่เข้ารับการรักษา ประมาณ 14 วัน
  • ของใช้ส่วนตัว เช่น แชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน ยาสีฟัน 
  • ของใช้อื่นๆ เช่น ที่โกนหนวด ผ้าอนามัย 
  • ยารักษาโรคประจำตัว เตรียมไปให้พอกับวันที่ต้องพักรักษาตัว
  • โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หรือเพาเวอร์แบงค์ 
  • อุปกรณ์อื่นๆ เช่น โน๊ตบุ๊ค หนังสือ สำหรับคลายเครียด 

วิธีการทำ Home Isolation

ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่ค่อนข้างมาก และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต คนที่มีอาการไม่รุนแรง หรือเป็นผู้ป่วยสีเขียว แนะนำว่าให้เข้าระบบการรักษาแบบ Home Isolation เพื่อลดความแออัดที่โรงพยาบาล และป้องกันสถานการณ์เตียงเต็ม ซึ่งการทำ Home Isolation นี้ จะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี และถ้าผู้ติดเชื้อที่ทำ Home Isolation แล้วมีอาการรุนแรงขึ้น ก็จะมีการประสานส่งต่อไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป

วิธีดูแลตัวเอง และจัดบ้านให้พร้อมในช่วง Home Isolation สามารถอ่านต่อได้ที่ 

ช้อปชุดตรวจ ATK เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และอุปกรณ์ป้องกัน/ฆ่าเชื้อโควิด ได้เลยในเว็บไซต์ OfficeMate เรามีทุกอย่างที่คุณต้องการ และบริการส่งฟรีถึงหน้าบ้าน เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท 

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก