สิ่งสำคัญในตอนนี้คือการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อเอาชนะเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์เดิมและสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นทางออกเดียวที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ 

สถานการณ์การฉีดวัคซีนในประเทศไทยของเรา เริ่มฉีดกันมาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฉีดไปแล้ว 42,477,514 ล้านโดส (28 กุมภาพันธ์ – 15 กันยายน 2564) การฉีดวัคซีนในบ้านเราเริ่มด้วยการฉีดวัคซีนซิโนแวค แอสตร้าเซเนก้า จนมาถึงการฉีดวัคซีนสูตรผสม หรือที่เรียกว่าฉีดไขว้ หลายคนกังวลกับผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ รวมไปถึงผลข้างเคียง เพราะวัคซีนที่นำมาไขว้นั้น มีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ฉีดได้จริงมั้ย? วันนี้ OfficeMate จะมาพาไปหาคำตอบกัน

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

การฉีดวัคซีนโควิด-19

ชนิดวัคซีนโควิด-19 ที่มีในประเทศไทยตอนนี้ มีด้วยกัน 4 ยี่ห้อ และกำลังจะนำเข้ามาอีก 1 ยี่ห้อ ได้แก่

  1. Sinovac วัคซีนชนิด Inactivated Vaccine หรือที่เรียกว่าวัคซีนเชื้อตาย ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 50-70%
  2. Astra Zenaca วัคซีนชนิด Viral Vector Vaccine ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 70-80%
  3. Sinopharm วัคซีนชนิด Inactivated Vaccine ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 79%
  4. Pfizer วัคซีนชนิด mRNA ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 95%
  5. Modena วัคซีนชนิด mRNA ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 95% คาดว่าล็อตแรกจะถึงไทยราวๆ กลางเดือนตุลาคม ซึ่งลำดับการฉีดจะเป็นไปตามลำดับการสั่งจองวัคซีน  

การฉีดวัคซีนสูตรผสม (ฉีดไขว้)

จากตอนแรกที่มีการฉีดวัคซีน Sinovac + Sinovac หรือ Astra + Astra ตอนนี้ในบ้านเราเริ่มมีการฉีดวัคซีนสูตรผสม หรือที่เรียกกันว่าฉีดไขว้ มีอยู่ 2 สูตร คือ

  1. Sinovac + Astra Zenaca

การฉีดไขว้ Sinovac + Astra Zenaca จะฉีดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เป็นสูตรสำหรับฉีดผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทั้งคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก และคนที่ฉีดเข็มแรกเป็น Sinovac ก็จะได้รับวัคซีนเข็ม 2 เป็น Astra Zenaca

  1. Astra Zenaca + Pfizer

การฉีดไขว้ Astra Zenaca + Pfizer จะฉีดห่างกัน 4-12 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายหลักก็ยังเป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทั้งคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก รวมถึงผู้สูงอายุและประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเป็น Astra Zenaca ก็จะได้รับวัคซีนเข็ม 2 เป็น Pfizer 

วัคซีนสูตรผสมสูตรที่ 1 มีการเริ่มต้นฉีดกันไปบ้างแล้ว แต่ในสูตรที่สองคาดว่าจะเริ่มทยอยฉีดตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป 

การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 

นอกจากการฉีดวัคซีนสูตรผสมหรือฉีดไขว้ ยังมีการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 

  • สำหรับบุคลากรด่านหน้าและประชาชนทั่วไปที่ก่อนหน้านี้ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac 2 เข็ม จะได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเข็ม 3 เป็นวัคซีนยี่ห้อ Astra Zenaca หรือ Pfizer
  • รวมถึงผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ก็จะได้รับการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนยี่ห้อ Astra Zenaca หรือ Pfizer แต่ในกรณีนี้ ต้องเว้นระยะห่างการฉีดวัคซีนหลังได้รับเชื้อหรือหลังจากหายป่วยแล้ว 1-3 เดือน 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนสูตรผสม (ฉีดไขว้)

การฉีดวัคซีนโควิด-19

หลายคนถามว่าทำไมต้องฉีดไขว้? เหตุผลหลักๆ มีอยู่ 2 ข้อ คือ

  1. วัคซีนที่ได้รับมาแต่ละชนิดมีจำนวนไม่เท่ากันและอาจไม่เพียงพอต่อการฉีดครบ 2 โดส แต่เพื่อจัดการและจัดสรรวัคซีนที่ได้รับมานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เหลือทิ้ง จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนสูตรผสมหรือฉีดบูสเข็ม 3 ด้วยวัคซีนต่างชนิดกับ 2 เข็มแรก
  2. ปัจจุบันไวรัสโควิด-19 พัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว วัคซีนที่ผลิตมาจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ตั้งต้นจึงอาจมีประสิทธิภาพไม่มากพอที่จะต่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ๆ ระหว่างรอการทดลองหรือผลิตวัคซีนชนิดใหม่ จึงได้มีการทดลองฉีดวัคซีนสลับชนิดและสลับยี่ห้อ ซึ่งมีการทดลองฉีดในหลายๆ ประเทศ และพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นและเร็วขึ้นได้ เพราะระยะห่างการฉีดเข็มแรกและเข็มสองน้อยลง   

ความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนสูตรผสม (ฉีดไขว้)

สิ่งที่หลายคนกังวลมากที่สุดในการฉีดวัคซีนไขว้สลับชนิดและสลับยี่ห้อ อาจไม่ใช่เรื่องของประสิทธิภาพ แต่เป็นเรื่องของผลข้างเคียงและความปลอดภัย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการฉีดวัคซีนสูตรผสมนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่เป็นองค์การหลักในการบริหารจัดการดูแลเรื่องโควิด-19 ก็ยังไม่ได้ออกมารับรองเรื่องความปลอดภัยอย่างเป็นทางการ แต่ให้หน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศสามารถพิจารณาความเหมาะสมตามผลการศึกษาของตัวเองได้   

การฉีดวัคซีนโควิด-19

วัคซีนสูตรผสม Sinovac + Astra Zenaca 

วัคซีนสูตรผสม Sinovac + Astra Zenaca ที่ฉีดในประเทศไทย ผ่านการยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขว่าหลังจากเริ่มต้นทยอยฉีดนั้นยังไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงกับคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนสูตรผสมสูตรนี้ ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพ ศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าการฉีดไขว้ด้วย Sinovac + Astra Zenaca ช่วยกระตุ้นภูมิในระดับสูงได้เร็วมากขึ้น เพราะใช้ระยะห่างระหว่างเข็มแรกและเข็มสองเพียง 3-4 สัปดาห์ ทั้งยังช่วยกระตุ้นภูมิได้สูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีน Astra Zenaca 2 เข็ม จากผลการศึกษายังคาดว่าจะสามารถช่วยป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้ 

วัคซีนสูตรผสม Astra Zenaca + Pfizer

สำหรับวัคซีนสูตรผสมระหว่าง Astra Zenaca + Pfizer ที่คาดว่าคนไทยจะได้ฉีดกันในเดือนตุลาคมนี้ มีอีกหลายประเทศที่ใช้สูตรเดียวกัน เช่น เยอรมนี สเปน และญี่ปุ่น 

งานวิจัยการฉีดวัคซีนสูตรผสม Astra Zenaca + Pfizer จากคณะกรรมการวัคซีนแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (STIKO) ระบุว่าการฉีดวัคซีน Astra Zenaca เข็มแรก แล้วตามด้วยวัคซีน Pfizer ที่เป็น mRNA จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ดี และดีกว่าการฉีด วัคซีน Astra Zenaca ทั้ง 2 เข็ม นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายประเทศในแถบยุโรปที่เปลี่ยนจากการฉีด Astra Zenaca 2 เข็ม มาฉีดวัคซีน mRNA ให้กับประชาชนเป็นเข็มที่ 2 แทน ด้วยเหตุผลความกังวลเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน จึงอาจกล่าวได้ว่า การฉีดวัคซีนสูตรผสมระหว่าง Astra Zenaca + Pfizer ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดจากการฉีดวัคซีนลงได้   

อย่างไรก็ตาม การยืนยันเรื่องความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนสูตรผสมนั้น อาจจะต้องอาศัยผลการศึกษา การวิจัย รวมถึงการทดลองในคนกลุ่มใหญ่กว่านี้ สำหรับประเทศไทยที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนสูตรผสม นพ.โอภาส ให้ความเห็นเอาไว้ว่า ‘วัคซีนทุกชนิดทุกยี่ห้อที่นำเข้ามาฉีดนั้น ได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก WHO และ อย. สำหรับสูตรไขว้ก็ทยอยฉีดให้คนไทยแล้วกว่า 1.5 ล้านคน ยืนยันว่าปลอดภัย และขอให้ประชาชนมั่นใจ’ 

ทั้งนี้ทั้งนั้น การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว 1 เข็ม, 2 เข็ม, 3 เข็ม หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็ขอให้ดูแลตัวเองเหมือนเดิม สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน เพื่อเป็นเกราะป้องกันชั้นแรกที่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 

เข้ามาช้อปอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 หน้ากากอนามัย สบู่เหลว น้ำยาฆ่าเชื้อ และเจลแอลกอฮอล์ ได้เลยที่ OfficeMate ช้อปออนไลน์วันนี้ครบ 499 บาท มีบริการส่งฟรีด้วยนะ!

อ่านบทความเพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูลจาก