ต้นเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา CDC หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ออกมาอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 พร้อมยืนยันว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) เป็นละอองล่องลอยได้ไกลถึง 6 ฟุต หรือราวๆ 2 เมตร ต่างจากเดิมที่บอกว่าโควิด-19 จะแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยของสารคัดหลั่ง (Droplet) ที่กระจายได้ไกลเพียง 5 ฟุต หรือ 1.5 เมตร

อ่านเพิ่มเติม : เคยสงสัยมั้ย…ละอองจากการจามพุ่งไปได้ไกลแค่ไหนกัน? 

การแพร่กระจายทางอากาศ หรือ Airborne คืออะไร?

Airborne คือ ละอองสารคัดหลั่งที่ถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย แต่ระเหยจนมีขนาดเล็ก มีชีวิตอยู่ในอากาศได้นาน และล่องลอยไปได้ไกลถึง 2 เมตร 

ละอองสารคัดหลั่งขนาดเล็กที่ว่านี้ถูกปล่อยออกมาในระหว่างการหายใจออกตามปกติ การพูด การหัวเราะ การร้องเพลง การหายใจออกอย่างแรงระหว่างออกกำลังกาย รวมถึงการไอ และจาม หากในละอองสารคัดหลั่งที่ถูกปล่อยออกมานี้มีเชื้อโควิด-19 ปะปนอยู่ ผู้ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น ก็สามารถรับเชื้อผ่านละอองฝอยนี้ได้แม้ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง จึงเรียกว่าเป็นการแพร่เชื้อทางอากาศ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Airborne นั่นเอง

Covid-19 Airborne

ถือเป็นการอัปเดตข้อมูลใหม่ที่เตือนให้เราทุกคนต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น เพราะแม้จะไม่ได้อยู่ใกล้ชิด พูดคุยสนิทสนม หรือดื่มน้ำจากหลอดเดียวกัน ก็สามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้

การระบาดแบบแพร่เชื้อทางอากาศ หรือ Airborne เคยเกิดขึ้นในหลายๆ เคสทั่วโลก เช่น การระบาดในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และรถโดยสารประจำทาง ของประเทศจีน หรือการระบาดในวงนักร้องประสานเสียง ในสหรัฐฯ และฝรั่งเศส แต่การแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) นี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้นด้วย

สภาพแวดล้อมแบบไหน ที่ทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) ได้มากขึ้น?

นอกจากอัปเดตเรื่องการแพร่เชื้อรูปแบบใหม่ CDC ยังพูดถึงปัจจัยเพิ่มเติมที่ทำให้การแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) นี้รุนแรงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม ณ ตรงจุดที่เชื้อไวรัสแพร่กระจาย คือ

  • พื้นที่ปิดที่อากาศไม่ถ่ายเท ระบบระบายอากาศไม่ดีพอ จะทำให้เชื้อไวรัสที่แพร่ออกมาปะปนกับอากาศมีความเข้มข้นสูง เพราะ ถูกสะสมให้มากขึ้นเรื่อยๆ 
  • หากผู้ติดเชื้อมีการออกแรง หรือเพิ่มระดับเสียง เช่น หายใจออกอย่างแรงขณะออกกำลังกาย หรือ ตะโกนเสียงดัง ผู้ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเพิ่มมากขึ้น
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อผ่านการแพร่กระจายทางอากาศจะเพิ่มขึ้น หากอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในบริเวณเดียวกันนานเกิน 15 นาที 

ทวนความจำ ละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง เข้าสู่ร่างกายได้ 3 ช่องทาง

Covid-19 Airborne
  • การหายใจเข้า (Inhalation) : หากอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ ในระยะ 1-2 เมตร การหายใจเอาละอองขนาดเล็ก (Airborne) ที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 ปะปนอยู่ ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้
  • เยื่อบุผิว : เยื่อบุผิว เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุในปาก หากถูกผู้ติดเชื้อไอ หรือจามรด จนละอองกระเด็นเข้าสู่เยื่อบุเหล่านั้นโดยตรง ก็มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19  
  • การสัมผัส : การสัมผัสทางอ้อม คือการเอามือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปสัมผัสโดนตา จมูก หรือปาก แต่ในปัจจุบัน การสัมผัสทางอ้อม ว่ากันว่าไม่ใช่ช่องทางหลักที่ทำให้ติดเชื้อโควิด -19

แม้การยืนยันจาก CDC ในครั้งนี้ จะดูเหมือนว่าเราสามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายกว่าเดิม แต่ CDC ก็ยังยืนยันว่ามาตรการป้องกันโรคแบบเดิมยังสามารถใช้ได้ผลในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายมาในอากาศ (Airborne) นั่นก็คือ

เว้นระยะห่าง
สวมหน้ากากอนามัย
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

Covid-19 Airborne

อ่านเพิ่มเติมเช็กให้ชัวร์ หน้ากากอนามัยแบบไหน? ป้องกันโควิด-19 ได้จริง

ส่วนการล้างมือด้วยสบู่ยังคงจำเป็นในการลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสผ่านการสัมผัส นอกจากนั้น หากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหาร / ออฟฟิศ / สำนักงาน ต้องหมั่นทำความสะอาด และควรเพิ่มระบบระบายอากาศภายในร้าน/อาคาร ทำได้ทั้งการเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท หรือติดพัดลมระบายอากาศ เพื่อเจือจางความเข้มข้นของละอองฝอยเชื้อไวรัส รวมไปถึงการใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบ HEPA จะช่วยทำความสะอาดและดักจับเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศได้

เมื่อติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ก็ต้องดูแลตัวเองอย่างรัดกุมมากกว่าเดิม ช้อปไอเทมป้องกันโควิด-19 ไปป้องกันตัวเอง ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate 

อ่านบทความโควิด-19 เพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูลจาก
matichon
thestandard
covid-19.kapook