ฟิล์มกันรอยเป็นอุปกรณ์เสริมชิ้นสำคัญ ช่วยปกป้องหน้าจอมือถือจากรอยขีดข่วน และถ้าเลือกให้ดีก็สามารถช่วยปกป้องหน้าจอจากการแตกร้าวได้ วันนี้ OfficeMate เลยจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับฟิล์มกันรอยมือถือแต่ละประเภท พร้อมคำแนะนำในการเลือกซื้อ ว่าจะเลือกฟิล์มกันรอยแบบไหนให้คุ้มค่า และตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด! ไปดูกันเลย

ประเภทของฟิล์มกันรอยมือถือ

ฟิล์มกันรอยมือถือ

ฟิล์มกันรอยแบบใส

ฟิล์มกันรอยแบบใสทำมาจากพลาสติก จุดเด่นอยู่ที่ความบาง ติดแล้วเหมือนไม่ได้ติด ช่วยคงความสว่าง สีสัน และความสดใสของหน้าจอเอาไว้ได้ หาซื้อได้ทั่วไป และมีราคาถูก ฟิล์มกันรอยแบบใส แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

  • ฟิล์มกันรอย PET : ผลิตจากพลาสติก PET เป็นพลาสติกประเภทเดียวกับขวดน้ำหรือบรรจุภัณฑ์อาหาร ราคาถูก มีคุณสมบัติช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันการแตกร้าวของหน้าจอได้ และค่อนข้างติดลายนิ้วมือง่าย ต้องคอยทำความสะอาดบ่อยๆ 
  • ฟิล์มกันรอย TPU : เป็นฟิล์มกันรอยแบบใสที่ได้รับความนิยมสูง มีความเหนียวและยืดหยุ่น ช่วยปกป้องหน้าจอจากรอยขีดข่วนได้ดีกว่าฟิล์มกันรอย PET ช่วยลดคราบจากรอยนิ้วมือได้ดีกว่า แต่ยังไม่เหมาะจะเป็นฟิล์มกันรอยสำหรับกันกระแทกเช่นกัน  

ฟิล์มกันรอยแบบด้าน

ฟิล์มกันรอยแบบด้านทำมาจากพลาสติกเช่นเดียวกัน แต่มีจุดเด่นที่เนื้อสัมผัส จะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังสัมผัสอยู่บนกระดาษ ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มสำหรับติดหน้าจอแท็บเล็ต สำหรับมือถือ ฟิล์มกันรอยแบบด้านช่วยลดคราบจากรอยนิ้วมือได้ดีเยี่ยม ทั้งยังช่วยลดแสงสะท้อนบนหน้าจอมือถือได้ ทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้น แต่สีของภาพอาจจะผิดเพี้ยนจากเดิมไปนิดหน่อยและความคมชัดของหน้าจออาจจะลดลงไปเล็กน้อย เพราะฟิล์มมีคุณสมบัติในการลดแสงหน้าจอเพื่อถนอมสายตา

ฟิล์มกันรอยช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว

ฟิล์มกันรอยช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว หรือที่เรียกกันว่า ‘ฟิล์มกันเผือก’ มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อติดฟิล์มแล้วจะมองเห็นหน้าจอได้จากด้านหน้าเท่านั้น หากมองในมุมข้างจะเห็นหน้าจอเป็นสีดำ ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มกันรอยไฮโดรเจล

ฟิล์มกันรอยไฮโดรเจล (Hydrogel Film) เรียกอีกอย่างว่า ‘ฟิล์มน้ำ’ เนื้อฟิล์มบางเฉียบ แต่ความแข็งแรงทนทานเป็นเลิศ ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี ทั้งยังช่วยดูดซับแรงกระแทกได้ เนื้อฟิล์มมีความยืดหยุ่นสูง ติดเรียบเนียนสนิทไปกับหน้าจอ ช่วยคงสีสันและความคมชัดของภาพเอาไว้ได้ดี 

ฟิล์มกระจก

ฟิล์มกันรอยมือถือ

ฟิล์มกระจกมีความหนามากกว่าฟิล์มกันรอยแบบพลาสติก ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันรอยขีดข่วนแล้ว ยังช่วยป้องกันหน้าจอมือถือแตกร้าวจากการตกหรือกระแทกได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกทั้งแบบใสและแบบด้าน ทั้งยังสามารถเลือกได้ว่าจะติดแบบไม่เต็มจอหรือเต็มจอ ซึ่งความแตกต่าง คือ

  • ฟิล์มกระจกแบบไม่เต็มจอ เมื่อติดลงบนมือถือ ขอบฟิล์มจะยาวไม่สุดขอบหน้าจอ อาจเหลือพื้นที่เล็กน้อย ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ซึ่งฟิล์มจะไม่สามารถป้องกันบริเวณขอบจอได้ แต่ข้อดี คือ สามารถใส่กับเคสโทรศัพท์ได้ทุกรูปแบบ ไม่ต้องกลัวว่าเคสจะดันฟิล์ม สามารถใช้ควบคู่ไปกับเคสมือถือแบบกันกระแทกเพื่อปกป้องบริเวณขอบจอได้ 
  • ฟิล์มกระจกแบบเต็มจอ ปกป้องได้เต็มหน้าจอ ช่วยป้องกันหน้าจอแตกจากการตกได้ แต่ฟิล์มกระจกแบบเต็มจอจะทำให้หน้าจอมือถือหน้าขึ้น อาจไม่สามารถใช้งานกับเคสบางประเภทได้

สำหรับการเลือกฟิล์มกระจก อีกหนึ่งอย่างที่ต้องมองหา คือ สัญลักษณ์ H ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความแข็งแกร่งของฟิล์ม มีตั้งแต่ระดับ 1H ไปจนถึง 10H ยิ่งมีค่ามาก ก็จะยิ่งแข็งแรงทนทาน ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนและลดแรงกระแทกได้ดีกว่า ซึ่งความแข็งของฟิล์มกระจกที่นิยมในปัจจุบันจะอยู่ที่ระดับ 9H และ 9H+

ฟิล์มกระจก UV

ฟิล์มกระจก UV เป็นฟิล์มกระจกสำหรับมือถือจอโค้งโดยเฉพาะ แผ่นฟิล์มไม่มีกาวในตัว การติดฟิล์มกระจก UV จะติดด้วยน้ำยาชนิดพิเศษ และฉายด้วยแสง UV แผ่นฟิล์มจะเคลือบติดแน่นไปกับหน้าจอทุกด้าน ใช้งานได้นาน ป้องกันรอยขีดข่วนและแรงกระแทกได้ดี แต่อาจจะมีราคาสูง หากจะติดฟิล์มประเภทนี้ แนะนำว่าให้ติดที่ร้านจะดีที่สุด  

ฟิล์มกันรอยถนอมสายตา

ฟิล์มกันรอยถนอมสายตา มีให้เลือกทั้งแบบฟิล์มใส ฟิล์มด้าน และฟิล์มกระจก โดยมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือได้ (Blue Light Cut) อย่างน้อย 70% (คุณสมบัติกรองแสงสีฟ้าของแต่ละแบรนด์อาจไม่เท่ากัน) ช่วยถนอมสายตา ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตาล้าจากการเล่นมือถือนานๆ และช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นได้   

การเลือกซื้อฟิล์มกันรอยมือถือ

ฟิล์มกันรอยมือถือ

เลือกซื้อฟิล์มกันรอยมือถือตามลักษณะการใช้งาน

  • หากคุณมีงบประมาณไม่มาก / อยากได้ฟิล์มที่คงสีสันและความคมชัดเอาไว้ได้ แนะนำให้เลือกติดฟิล์มกันรอย TPU แบบใส ราคาถูก เปลี่ยนได้บ่อย และติดเองได้ง่าย
  • หากคุณทำมือถือตกบ่อย หน้าจอแตกอยู่เป็นประจำ แนะนำให้ติดฟิล์มกระจก จะช่วยลดแรงกระแทกและป้องกันหน้าจอแตกได้ดีที่สุด
  • หากชอบให้หน้าจอมือถือสะอาดอยู่ตลอดเวลา แบบไร้รอยนิ้วมือหรือรอยขีดข่วน หรือใช้มือถือแบบมีปากกา แนะนำให้ติดฟิล์มกันรอยแบบด้าน จะเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายและเกิดรอยนิ้วมือยากกว่า ทั้งยังให้สัมผัสแบบกระดาษ และทัชลื่นไม่ต่างจากฟิล์มกันรอยแบบใส
  • สำหรับคนที่ใช้มือถือทั้งวัน ไม่ว่าจะเล่นเกม ท่องโซเชียล หรือทำงาน แนะนำให้ติดฟิล์มกันรอยถนอมสายตา ช่วยปกป้องหน้าจอไปพร้อมๆ กับปกป้องสายตาของผู้ใช้งาน 
  • หากคุณชอบเล่นมือถือในที่สาธารณะ หรือหวงความเป็นส่วนตัวมากเป็นพิเศษ แนะนำให้ติดฟิล์มกันเผือก ก็จะไม่มีใครถือวิสาสะมาแอบมองหน้าจอมือถือของคุณได้อีกต่อไป

จะเห็นแล้วว่าฟิล์มกันรอยมือถือแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ติดฟิล์มกันรอยครั้งต่อไป ก็อย่าลืมคำนึงถึงคุณสมบัติ รวมไปถึงไลฟ์สไตล์การใช้งาน สำหรับบางคนที่ใช้มือถือแบบไม่ติดฟิล์มด้วยเหตุผลที่ว่าขี้เกียจ ไม่จำเป็น หรือไม่ซีเรียสเรื่องรอย แนะนำว่าอย่าชะล่าใจไป ติดฟิล์มป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าต้องไปเสียเงินซ่อมหน้าจอแพงๆ ทีหลังนะคะ 

อยากติดฟิล์มมือถือ เข้ามาช้อปฟิล์มกระจกกันรอยมือถือได้มาตรฐาน แข็งแรงทนทานระดับ 9H ปกป้องกันรอยได้ดีเยี่ยม มีให้เลือกหลากหลายทั้ง iPhone, Samsung, OPPO และ Vivo รวมถึงอุปกรณ์เสริมสำหรับมือถืออีกมากมาย คลิกเลยที่ OfficeMate ช้อปวันนี้ ส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท!

ขอบคุณข้อมูลจาก