ปัจจุบันอาหารที่เรากินกันอยู่ทุกวัน มีส่วนผสมของโซเดียมจำนวนมากแบบที่เราอาจไม่รู้ตัว ซึ่งประโยชน์ข้อหนึ่งของโซเดียม คือ ช่วยให้อาหารรสชาติดี และทำให้เราเจริญอาหารมากขึ้น แต่หากกินมากเกินไปก็อาจให้โทษได้เช่นกัน ไปเจาะลึกและทำความรู้จักกันดีกว่าว่า โซเดียมคืออะไร? แอบแฝงอยู่ในอาหารชนิดไหนบ้าง? แล้วมีวิธีไหนช่วยลดโซเดียมในร่างกายได้บ้าง? ไปดูกัน

โซเดียม คืออะไร?

โซเดียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกายให้สมดุล รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก

โซเดียมแฝงอยู่ในอาหารแทบทุกประเภท ไปดูกันว่ามีอาหารประเภทไหนบ้าง?

อาหาร 8 ชนิด เสี่ยง ‘โซเดียม’ สูง 

  • อาหารจากธรรมชาติที่มีโซเดียมสูง คืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง อย่างเนื้อหมู และเนื้อวัว เรียกได้ว่าอาหารสดเหล่านี้ มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แบบไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • อาหารแปรรูป อาหารกระป๋องทุกชนิด และอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร เช่น อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • เครื่องปรุงรสต่างๆ อย่าง เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า เต้าหู้ยี้ ซอสหอยนางรม รวมไปถึงซอสจิ้มเพิ่มรสชาติ เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มไก่ ซึ่งเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ที่ต้องจำกัดโซเดียมควรงด
  • ผงชูรส มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่มากถึงประมาณร้อยละ 15
  • ขนมกรุบกรอบ นอกจากจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบสำหรับเพิ่มรสชาติแล้ว อาหารเหล่านี้ยังมีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณที่สูงมาก
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปต่างๆ ทั้งชนิดก้อนและชนิดซอง
  • ขนมที่เติมผงฟู (Baking Powder หรือ baking Soda) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) รวมถึงแป้งสำเร็จรูป ที่ใช้ทำขนมเองก็มี โซเดียมอยู่ด้วย เพราะได้ผสมผงฟูไว้แล้ว
  • บางครั้งน้ำประปาในช่วงที่เกิดน้ำทะเลหนุนสูง ก็อาจมีโซเดียมเข้ามาปะปนอยู่ด้วย รวมไปถึงเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา และน้ำผลไม้บรรจุกล่อง ก็มักจะมีการเติมสารกันบูดหรือโซเดียมเบนโซเอตลงไป ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูงเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำประปาเค็ม
ระวัง! ‘น้ำประปาเค็ม’ ภัยร้ายใกล้ตัวที่กระทบสุขภาพ รับมืออย่างไรดี? 
เลือกเครื่องกรองน้ำ แก้ปัญหาน้ำประปาเค็ม แบบไหนดี?

จะเห็นได้ว่าอาหารแทบทุกชนิด ทั้งอาหารที่ได้จากธรรมชาติ และอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ผ่านการปรุงแต่งล้วนมีโซเดียมปะปนอยู่ แม้โซเดียมจะมีประโยชน์ตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายมีอาการบวมน้ำ ส่งผลไตทำงานหนักขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นไตวาย และเสียชีวิต ดังนั้น ไปดูกันดีกว่าค่ะว่า มีวิธีไหนช่วยเลี่ยงโซเดียมได้บ้าง?

ลดโซเดียม เลี่ยงไตวาย

  • เน้นการกินอาหารสดมากกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ผักสด ผลไม้สด ส่วนเนื้อสัตว์ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแดง มากินเนื้อขาว อย่างเนื้อปลา หรือเนื้อไก่
  • ลดหรืองดอาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น อาหารดองเค็ม อาหารกระป๋อง อาหารตากแห้ง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ
  • ชิมอาหารก่อนปรุง หากจะใส่เครื่องปรุงควรใส่ทีละน้อย
  • หลีกเลี่ยงการจิ้มน้ำจิ้ม หรือจิ้มในปริมาณน้อย
  • สำหรับอาหารสำเร็จรูป ขนมถุง อาหารกระป๋องต่างๆ ควรอ่านฉลากโภชนาการให้ละเอียด ตรวจดูปริมาณโซเดียม เพื่อควบคุมปริมาณโซเดียมให้อยู่เกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดให้กินโซเดียมได้ไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
  • ใช้สมุนไพรในการปรุงอาหารจะช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้นโดยไม่ต้องเติมเกลือเพิ่ม
  • ทำอาหารทานเอง เพื่อเลือกวัตถุดิบ และกะปริมาณเครื่องปรุงเองได้

หนุ่มๆ สาวๆ ที่รู้สึกว่าตัวบวมขึ้น สาเหตุหนึ่งก็มาจากโซเดียมที่แฝงอยู่ในอาหารที่ทานเข้าไปนั่นเอง ใครอยากลดโซเดียม รีดน้ำ และความบวมออกจากร่างกาย อย่าลืมเอาคำแนะนำจาก OfficeMate ไปใช้ และถ้าใครถนัดทำอาหารทานเองอยู่แล้ว OfficeMate แนะนำ เครื่องปรุงที่ลดปริมาณโซเดียมลง แต่รับรองว่าปรุงได้รสชาติอร่อยเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือสุขภาพที่ดี!

ช้อป เครื่องปรุงลดปริมาณโซเดียม และเครื่องปรุงอื่นๆ ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate เรามีบริการส่งฟรีถึงบ้าน เพียงช้อปครบ 499 บาท