โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ เป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องระวังในช่วงหน้าร้อน ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการฉีดวัคซีน แต่ก็มีหลายคนที่ละเลยไม่มาพบแพทย์ จนทำให้อาการหนัก และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต วันนี้ OfficeMate จะพาไปรู้เท่าทันโรคพิษสุนัขบ้า ไปดูกันว่าโรคนี้มีอาการแรกเริ่มเป็นอย่างไร และสัญญาณเตือนที่บอกว่าควรไปพบแพทย์เป็นแบบไหน เพื่อเข้ารับการรักษาให้ทันถ่วงที 

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร?

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่า เรบีส์ (Rabies) เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไปฝังตัวอยู่ที่ระบบประสาท และแพร่กระจายไปยังสมอง ไขสันหลัง และส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับวัคซีนก็จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต 

ถึงจะชื่อว่า พิษสุนัขบ้า แต่โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสุนัขเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แมว ลิง กระรอก วัว ควาย ม้า กระต่าย หนู และค้างคาว ก็สามารถติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน 

การติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสัตว์สู่คน

โรคพิษสุนัขบ้า Rabies

โรคพิษสุนัขบ้า ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้โดยการโดนกัด หรือข่วน โดยจะส่งผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องโดนกัดเสมอไป เพียงแค่มีสัตว์ติดเชื้อมาเลียโดนบริเวณแผลก็สามารถติดเชื้อได้ 

นอกจากนั้น เชื้อพิษสุนัขบ้ายังสามารถติดต่อผ่านทางเยื่อบุตา เยื่อบุจมูก และเยื่อบุภายในช่องปากได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบาดแผล นั้นหมายถึงว่า หากคุณไปสัมผัสซากสัตว์ที่ติดเชื้อ ทานเนื้อดิบที่ชำแหละมาจากสัตว์ที่เป็นโรค หรือเล่นกับแมว กับสุนัขที่มีเชื้อ ก็สามารถติดโรคพิษสุนัขบ้าได้    

ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้า

หลังจากได้รับเชื้อมาแล้ว โรคพิษสุนัขบ้าจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรืออาจจะนานถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อ และตำแหน่งของบาดแผลที่ถูกกัด แต่เมื่อเริ่มมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2-10 วัน 

อาการของสุนัขที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า Rabies

อาการของสุนัข แมว หรือสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าว และแบบเซื่องซึม

  • แบบก้าวร้าว : สัตว์จะแสดงอาการดุร้าย พยายามไล่กัดคน หรือไล่กัดสัตว์ตัวอื่นๆ และกัดทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่อาการดุร้ายจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วัน หลังจากนั้น สัตว์จะมีอาการอ่อนเพลีย เดินโซเซ เป็นอัมพาต และเสียชีวิต
  • แบบเซื่องซึม : สัตว์จะไม่แสดงอาการดุร้าย ไม่ไล่กัด แต่จะมีอาการเซื่องซึม ดูอ่อนเพลีย กินข้าวกินน้ำน้อยลง ลุกเดินไปมาบ่อยๆ หรือกินของแปลกๆ ที่สังเกตได้ง่าย คือ ปากจะอ้าไม่ยอมหุบ และลิ้นมีสีแดงคล้ำ    

อาการของคนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

คนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการคล้ายสุนัข และแบ่งได้เป็น 2 แบบเช่นกัน คือ แบบดุร้าย กระสับกระส่าย และแบบอัมพาต ซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อปริมาณมากบริเวณไขสันหลัง 

อาการระยะแรก : 

  • เริ่มมีไข้ อ่อนเพลีย 
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • อารมณ์แปรปรวน กระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ
  • หากถูกกัด จะคันบริเวณรอบๆ แผล หรือมีอาการชาบริเวณบาดแผล

อาการระยะที่ 2 :

  • เริ่มมีอาการกลัวน้ำ ดื่มน้ำแล้วสำลัก กลืนอาหารเหลวลำบาก กล้ามเนื้อลำคอเกร็งแน่น และกระตุก เมื่อพยายามจะดื่มน้ำ อาจมีการพ่นน้ำ หรือพ่นน้ำลายออกมา
  • อาการกลัวลม คือ สะดุ้ง หรือผวาเมื่อสัมผัสกับลม หรือถูกลมพัด
  • ไม่ชอบแสงสว่าง 
  • ไม่ชอบเสียงดัง
  • ไม่อยากเข้าใกล้ผู้อื่น ไม่อยากให้ใครมาสัมผัสร่างกาย
  • อาการทางระบบปะสาทอื่นๆ เช่น คลุ้มคลั่ง อาละวาด ก้าวร้าว 
  • อัมพาต

อาการระยะที่ 3 :

  • ผู้ติดเชื้อจะเริ่มไม่รู้สึกตัว เข้าสู่อาการโคม่า

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ถูกปล่อยจนมีอาการกลัวน้ำ มักจะเสียชีวิตภายใน 7 วัน  

ทำอย่างไรหากโดนสุนัขบ้ากัด

หากโดนสุนัข และสัตว์อื่นๆ กัด หรือข่วน ให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ล้างแผลให้สะอาดทันทีด้วยน้ำสะอาด และสบู่ หากบาดแผลมีความลึก พยายามล้างให้เข้าถึงส่วนที่ลึกที่สุดของแผล ล้างซ้ำๆ ประมาณ 15 นาที 
  2. เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ เบตาดีน หรือน้ำเกลือ เพื่อทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ
  3. รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

*การมาพบแพทย์นั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตว์ที่กัดแสดงอาการพิษสุนัขบ้าออกมา เพราะคนที่ถูกกัด อาจแสดงอาการก่อนสัตว์ได้

*หากเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของ และสงสัยว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้า ควรกักเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน 

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า    

โรคพิษสุนัขบ้า Rabies
  • อยู่ให้ห่างจากสุนัข และแมวจรจัด โดยเฉพาะในหน้าร้อน 
  • พาสุนัข และแมวที่เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี
  • ไม่เข้าไปแหย่สัตว์ป่า เช่น ลิง และไม่ยุ่ง หรือทำร้ายสัตว์ที่มีอาการดุร้าย

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่ยุ่งกับสัตว์จรจัด พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน และหากโดนกัด หรือโดนข่วน แม้เป็นแผลเพียงเล็กน้อย ก็อย่าชะล่าใจ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ 

บ้านไหนที่เลี้ยงน้องหมา น้องแมว อย่าลืมพาไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ซึ่งสามารถฉีดซ้ำได้ทุกปี จะได้ดีทั้งกับตัวน้อง และคนในครอบครัวนะคะ 

ดูแลสัตว์เลี้ยงให้ดี เค้าจะได้อยู่กับเราไปนานๆ เข้ามาช้อปอาหารสุนัข และอาหารแมวคุณภาพดี จากแบรนด์ชั้นนำ ได้เลยในเว็บไซต์ OfficeMate ช้อปวันนี้ ส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท!

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก