ชุด PPE (Personal Protective Equipment) เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันช่วงลำตัว มักใช้สวมใส่เมื่อต้องทำงานในโรงงาน ไซต์งานก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ ห้องเครื่อง ห้องไฟฟ้า และอีกหลายสถานที่ รวมไปถึงโรงพยาบาล 

ชุด PPE ออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องผู้สวมใส่ให้ปลอดภัยจากอันตราย และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งชุด PPE แต่ละประเภท เหมาะสำหรับการสวมใส่ทำงานในลักษณะที่แตกต่างกัน วันนี้ OfficeMate เลยจะพาไปดูกันว่า ชุดที่เรียกว่าชุด PPE หรือชุดป้องกันลำตัวนั้น มีกี่แบบ? แล้วแต่ละแบบ เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง?

ประเภทของชุด PPE 

ชุดหมีช่าง

ชุดหมีช่าง
ชุดหมีช่าง

ชุดหมีช่างเป็นชุด PPE หรือเป็นอุปกรณ์ป้องกันลำตัวที่นิยมใช้กันมากที่สุด เรียกว่าเป็นชุดอเนกประสงค์ที่กลายมาเป็นยูนิฟอร์มหลักในการทำงานหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น งานไม้ งานไฟฟ้า งานก่อสร้าง งานที่เกี่ยวกับน้ำ งานซ่อมรถ งานเชื่อม งานประกอบเครื่องจักร และงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ชุดหมีช่างจะช่วยป้องกันลำตัว แขน และขา จากกระเด็นของชิ้นส่วน ฝุ่น น้ำมัน สี รวมไปถึงสะเก็ดไฟ แต่อาจจะไม่ช่วยป้องกันสารเคมี 

ชุดหมีช่างออกแบบมาเป็นชุดท่อนเดียว คือ ส่วนของเสื้อและกางเกงเย็บติดเป็นตัวเดียวกัน มีซิปอยู่ด้านหน้า ทำจากผ้าเนื้อหนา ทนทานต่อการขีดข่วน แรงดึง และการฉีกขาด แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดความร้อนมากเกินไปขณะปฏิบัติงาน และนอกจากชุดหมีช่างจะช่วยป้องกันลำตัวให้ปลอดภัยแล้ว ชุดหมีช่างที่ไม่มีชายเสื้อ และกระชับกับลำตัว ยังช่วยให้ปฏิบัติงานได้คล่องตัวกว่า ทั้งยังมีกระเป๋าให้เก็บอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานได้

ชุดป้องกันสารเคมี

ชุดป้องกันสารเคมี นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ยา รวมไปถึงใช้ในทางการแพทย์ ลักษณะมีทั้งเป็นชุดหมีสีขาวคลุมทั้งตัวไปจนถึงส่วนศรีษะ หรืออาจเป็นแค่เสื้อที่สวมป้องกันเฉพาะลำตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน 

ชุดป้องกันสารเคมี เป็นชุด PPE ที่ต้องผ่านมาตรฐานการทดสอบด้านความปลอดภัย ทั้งมาตรฐาน ISO และ EN (European Standard) เพื่อรับรองหรือการันตีได้ว่า ชุด PPE นี้จะช่วยให้ผู้สวมใส่ปลอดภัยจากสารเคมี รวมไปถึงของเหลว น้ำ และเชื้อโรคต่างๆ ได้ ซึ่งระดับการป้องกันของชุด PPE ประเภทนี้ แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

  • ชุดป้องกันสารเคมีระดับ A (Level A) : การป้องกันระดับสูงสุด ช่วยป้องกันผิวหนังจากสารเคมีในทุกสถานะ 
  • ชุดป้องกันสารเคมีระดับ B (Level B) : ช่วยป้องกันผิวหนังในระดับต่ำกว่า Level A สามารถป้องกันสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลวได้ แต่ไม่สามารถป้องกันสารเคมีที่มีสถานะเป็นก๊าซได้
  • ชุดป้องกันสารเคมีระดับ C (Level C) : ช่วยป้องกันผิวหนังในระดับต่ำกว่า Level A สามารถป้องกันสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลวได้ แต่ไม่สามารถป้องกันสารเคมีที่มีสถานะเป็นก๊าซได้ เช่นเดียวกับ Level B
  • ชุดป้องกันสารเคมีระดับ D (Level D) : ช่วยป้องกันในระดับต่ำ เป็นชุดป้องกันสารเคมีที่สวมใส่ทำงานทั่วไป เช่น ในอุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง

ชุดป้องกันเชื้อโรค

ชุดป้องกันเชื้อโรค
ชุดป้องกันเชื้อโรค

ชุดป้องกันเชื้อโรค หรือชุด PPE ทางการแพทย์ สำหรับสวมใส่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล ในห้องผ่าตัด รวมไปถึงในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุด PPE สำหรับป้องกันเชื้อโรค และเชื้อไวรัส จำเป็นต้องผ่านมาตรฐาน EN 14126 มาตรฐานการทดสอบเนื้อผ้าว่าจะสามารถปกป้องผู้สวมใส่จากการกระเซ็นและการซึมของเลือด ของเหลว สารคัดหลั่ง รวมไปถึงการซึมผ่านของแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งเนื้อผ้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน EN14126 และ ISO16604 คือ เนื้อผ้า PP+PE (Polypropylene + Polyethylene) ที่มีความทนทานต่อการฉีกขาด การทะลุ และป้องกันของเหลวซึมผ่านได้ดี

ชุดป้องกันเชื้อโรคมาตรฐาน EN 14126 มีให้เลือกหลาย Type ซึ่งแต่ละ Type ก็จะสามารถป้องกันได้มากน้อยต่างกัน การเลือกใช้จึงอยู่กับความปลอดภัยที่หน้างาน หากทำงานแล้วต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโดยตรง ทำงานในห้องไอซียู หรือทำงานในห้องผ่าตัด ก็จะต้องใช้ชุดป้องกันเชื้อโรค Type 4-B ขึ้นไป    

ชุดป้องกันความร้อน

ชุดป้องกันความร้อน เป็นชุด PPE ที่สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 2000 องศาฟาเรนไฮด์ ส่วนใหญ่ทำมาจากผ้าที่ทอจากเส้นใยแข็ง แล้วเคลือบผิวด้านนอกด้วยอลูมิเนียมเพื่อสะท้อนรังสีความร้อน เรียกอีกอย่างว่า ชุดอลูมิไนซ์ (ALUMINIZED DUAL MIRROR) มีทั้งแบบชุดคลุมทั้งตัว (Cover All) และแบบเอี๊ยม ช่วยป้องกันความร้อน และสะเก็ดไฟ 

นอกจากนั้น ยังมีชุด PPE หรือที่เรียกว่าอุปกรณ์ป้องกันลำตัวสำหรับใช้ในงานแบบเฉพาะทาง เช่น เสื้อคลุมตะกั่วสำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันรังสี และอุปกรณ์ป้องกันลำตัวอเนกประสงค์ อย่างเสื้อกั๊กสะท้อนแสง หรือที่เรียกว่าเสื้อจราจร สำหรับสวมใส่เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในเวลากลางคืน หรือปฏิบัติงานในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คลังสินค้า บนท้องถนน หรือไซต์งานก่อสร้าง 

เสื้อกั๊กสะท้อนแสง เสื้อจราจร
เสื้อกั๊กสะท้อนแสง เสื้อจราจร

หลักการเลือกซื้อชุด PPE

  • เลือกประเภทของชุด PPE ให้เหมาะสมกับงาน : หากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีก็ต้องใส่ชุดป้องกันสารเคมีโดยเฉพาะ เพราะชุดหมีช่างทั่วไป ไม่สามารถป้องกันการซึมผ่านของสารเคมีได้ 
  • เลือกชุด PPE ที่เหมาะสมกับสรีระ : ชุด PPE ต้องไม่รัดรูป และไม่หลวมเกินไป เพื่อป้องกันการฉีกขาด และเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ การเลือกซื้อชุด PPE จึงควรเลือกไซซ์ให้เหมาะสมกับผู้สวมใส่ อาจเผื่อให้ใหญ่กว่าขนาดตัวราวๆ 2-3 นิ้ว จะสวมใส่ได้สบาย ไม่อึดอัด และไม่ร้อน

ชุด PPE ต้องเลือกซื้ออย่างพิถีพิถัน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุกคน ต้องการชุด PPE ชุดหมีช่าง หรือเสื้อจราจร คุณภาพดี รวมไปถึงอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่นๆ เข้ามาช้อปได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate เรามีทั้งโปรโมชั่น ของแถมดีๆ และบริการส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท สำหรับลูกค้าโรงงาน และธุรกิจ ยังสามารถขอรับเครดิตเทอม ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง นานสูงสุด 30 วันได้อีกด้วย!

ขอบคุณข้อมูลจาก