ติดโควิดแล้วแต่ไม่มีอาการ กว่าจะรู้ตัวก็ตอนที่โควิดลงปอด อาการหนักจนยากที่จะรักษาได้ วันนี้ OfficeMate จะพาไปดูวิธีเช็กอาการเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อว่าโควิดลงปอดแล้วรึยัง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองหรือดูแลคนในบ้านที่มีอาการโควิดลงปอดระหว่างรอเตียง ไปดูกันเลยค่ะ 

โควิดลงปอด อาการเป็นแบบไหน?

โควิดลงปอด

จากตอนที่แล้ว เราพูดถึงผู้ป่วย 3 กลุ่ม สีเขียว สีเหลือง และสีแดง (อ่านต่อ : เช็กระดับอาการโควิด-19 ผู้ป่วยสีเขียว เหลือง แดง มีอาการแบบไหน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?) ซึ่งมีอาการหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับผู้ป่วยที่โควิดลงปอดจะอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง มีอาการคือ 

  • มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียล
  • ไอแห้ง
  • มีเสมหะหรือมีน้ำมูก เป็นสัญญาณสำคัญว่าปอดมีการอักเสบ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส 
  • ท้องเสียมากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน
  • เหนื่อยง่าย มีอาการหอบ (เข้าห้องน้ำแล้วเหนื่อย) 
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • เริ่มมีอาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว หรือโรคอื่นๆ เกิดขึ้น

หากติดเชื้อแล้วมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าเป็นอาการโควิดลงปอด ควรรีบติดต่อแพทย์ โรงพยาบาล หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อประสานหาเตียงรักษาทันที 

3 วิธีเช็ก โควิดลงปอดแล้วหรือยัง?

โควิดลงปอด

หากใครป่วยติดเชื้อ แต่ยังไม่แสดงอาการและมีความกังวลใจ กลัวว่าโควิดจะลงปอด มีวิธีเช็กง่ายๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (ไม่แนะนำให้ทดสอบกับผู้สูงอายุ) คือ

  1. เดินไปเดินมาในบ้าน
  2. ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง
  3. กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที 

หากทำ 3 ข้อนี้แล้วมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอด แต่สำหรับผู้สูงอายุหรือคนที่อยากได้ความชัวร์ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หากวัดแล้วออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95% หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 120 อาจเป็นสัญญาณว่าปอดมีปัญหา ควรรีบติดต่อหาเตียงรักษา หรือโทร 1669 ทันที 

อ่านต่อ รวมช่องทางหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

วิธีดูแลตัวเองหรือคนในครอบครัวที่มีอาการโควิดลงปอด

โควิดลงปอด

หากมีอาการโควิดลงปอด ระหว่างรอเตียงหรือเข้ารับการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  1. นอนคว่ำเพื่อขยายพื้นที่ปอดและไม่ให้ปอดโดนกดทับ (กอดหมอนเอาไว้จะช่วยให้นอนคว่ำได้สบายขึ้น) หากนอนคว่ำไม่ได้แนะนำให้นอนตะแคงด้านซ้าย ตัวกึ่งคว่ำเข้าหาเตียงประมาณ 45 องศา 
  2. พยายามขยับขาบ่อยๆ ให้เลือดไหลเวียนสะดวก ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  3. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา พยายามทานให้มาก เน้นอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย หากไม่สามารถทานอาหารได้ ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ทดแทน
  4. ดื่มน้ำให้มาก วันละ 2-2.5 ลิตร เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก ไม่หนืดข้น 
  5. หากมีโรคประจำตัวและมียาที่ต้องทาน ให้ทานยาสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองหรือปรับปริมาณยาเองเด็ดขาด 
  6. คนที่เป็นความดันและเบาหวาน ต้องหมั่นวัดความดันและเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ 
  7. เตรียมยาพาราเซตามอลเอาไว้ให้เพียงพอ สำหรับทานตอนมีไข้ 
  8. ไม่แนะนำให้ทานฟ้าทะลายโจร* อ่านต่อ อ่านก่อนกิน! ‘ฟ้าทะลายโจร’ ช่วยรักษาโควิด-19 แต่ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
  9. เตรียมกระโถนเอาไว้ข้างเตียง หากมีอาการเหนื่อยหอบรุนแรง ไม่ควรลุกไปเข้าห้องน้ำ เพราะอาจหมดสติระหว่างเบ่งถ่ายหรือลุกยืนจากโถส้วมได้ หากไปเข้าห้องน้ำควรมีคนพาไปและไม่ต้องล็อคประตู
  10. หากอยู่คนเดียว ต้องติดต่อญาติหรือคนใกล้ชิดอยู่เสมอ   

พบเชื้อโควิดลงปอด ไม่สามารถทำ Home Isolation ได้ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น ระหว่างรอเตียงก็อย่าลืมดูแลตัวเองหือคนในครอบครัวด้วยวิธีที่เราแนะนำไปนะคะ 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ช้อปอุปกรณ์ป้องกันโควิด หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เอาไปเช็กอาการโควิดลงปอด ป้องกันเอาไว้ก่อนได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate สั่งวันนี้ ส่งฟรีเมื่อช้อปครบ 499 บาท!

ขอบคุณข้อมูลจาก