โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีคนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่าคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดยเฉลี่ย 2-3 เท่า ซึ่งประเภทของมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ พบว่าเป็น ‘มะเร็งปอด’

มะเร็งปอดอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด หลายคนอาจคิดว่าตัวเองก็ไม่ได้สูบบุหรี่คงจะไม่เสี่ยง แต่อันที่จริงแล้ว แม้สาเหตุการเป็นมะเร็งปอดอันดับหนึ่งจะมาจากบุหรี่ แต่คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็มีสิทธิ์เป็นโรคมะเร็งปอดได้ ไปดูกันดีกว่าว่า มะเร็งปอดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

สาเหตุของโรคมะเร็งปอด

  1. บุหรี่

สาเหตุอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งปอด ก็ยังคงเป็น ‘บุหรี่’ บุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งหลายชนิด เมื่อสูบ หรือแม้แต่คนที่ไม่ได้สูบ แต่สูดควันบุหรี่เข้าไป สารพิษเหล่านั้นจะเข้าไปทำลายปอด ซึ่งเป็นอวัยวะหน้าด่านที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ แม้ร่างกายจะกำจัดสารพิษเหล่านี้ได้ แต่หากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นเวลานาน ร่างกายไม่สามารถกำจัดสารพิษออกได้ทัน เซลล์และเนื้อเยื่อก็จะเกิดความเสียหาย หรือเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด  

  1. มลภาวะในอากาศ

มลภาวะในอากาศ เช่น การเผาไหม้ของยานพาหนะ ฝุ่นควันจากการก่อสร้าง หรือคนทำงานในเหมืองที่มีแร่ใยหิน โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่ PM 2.5 ระบาดหนัก หากสูดดมทุกวันโดยขาดการป้องกัน มลภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ทั้งสิ้น 

  1. อายุ

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ง่ายขึ้น โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูง คือ อายุ 55 ปีขึ้นไป

  1. เคยมีประวัติการเป็นโรคปอด

คนที่เคยมีประวัติเป็นโรคปอดมาก่อน เช่น ถุงลมโป่งพอง หรือวัณโรคปอด มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดง่ายกว่าคนอื่นๆ 

  1. สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งปอด ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น แต่สำหรับพันธุกรรมนั้น ยังไม่มีผลการศึกษาแน่ชัดเท่าไหร่นัก

ชนิดของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก และมะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ

มะเร็งปอด
  1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก 

มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก พบได้น้อยเพียงร้อยละ 10-15 เป็นเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว แต่ความรุนแรงน้อย สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการทำเคมีบำบัด 

  1. มะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ

มะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ พบได้มากร้อยละ 85-90 ลุกลามช้า และมีโอกาสตรวจเจอได้ง่ายกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  • มะเร็งปอดระยะแรก : ก้อนมะเร็งยังไม่ลุกลามกระจายตัว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ แต่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว เพราะมะเร็งปอดระยะแรกจะไม่แสดงอาการของโรคออกมา 
  • มะเร็งปอดระยะที่ 2 : มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด ยังสามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ 
  • มะเร็งปอดระยะที่ 3 : มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น กระดูกซี่โครง กระบังลม เยื่อหุ้มปอด
  • มะเร็งปอดระยะสุดท้าย : มะเร็งกระจายไปสู่อวัยวะสำคัญอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ตับ กระดูก ต่อมหมวกไต ฯลฯ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกาย

อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งปอด

จาก 4 ระยะของมะเร็งปอดนั้น จะเห็นว่าหากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจเจอมะเร็งปอดระยะแรก หรือระยะที่ 2 ยังพอมีทางรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้อยู่ ดังนั้น แนะนำว่าควรไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็กหาสิ่งผิดปกติไว้แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้ทำการรักษาได้ง่ายกว่า หรือถ้าใครไม่สะดวก แต่พบว่าตัวเอง หรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปเช็กที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด 

  • อาการไอเรื้อรัง ทั้งไอแบบมีเสมหะ และไอแบบไม่มีเสมหะ
  • อาการไอเป็นเลือด
  • หอบเหนื่อย
  • หายใจลำบาก
  • หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • ปวดหัว หรือปวดหลังบ่อยๆ 
  • เสียงแหบ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ
  • หน้า แขน คอ มีอาการบวม
  • กลืนอาหารลำบาก

แน่นอนว่าอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่อาการของคนเป็นมะเร็งปอดทั้งหมด แต่อย่าละเลย รีบไปเช็กให้ไว จะรักษาได้ง่าย และมีโอกาสหายได้มากกว่า

ป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด

เพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอด ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี ดังนี้

มะเร็งปอด
  • ไม่สูบบุหรี่ และไม่เข้าใกล้คนที่กำลังสูบบุหรี่ เพื่อลดการสูดควันบุหรี่มือสองเข้าไป
  • สวมหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ก่อนออกไปในที่สาธารณะ โดยเฉพาะวันที่แจ้งเตือนว่าค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูง
  • หลีกเลี่ยงการสูดควันอื่นๆ เช่น ควันธูป ควันจากการเผาถ่าน เผาหญ้า หรือเผาขยะ 
  • อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ หรือใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้านและในสำนักงาน
  • ตรวจเช็กร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดของปิ้งย่าง หรือของทอด เพราะส่งผลให้เป็นมะเร็งอื่นๆ ได้เช่นกัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้
  • หากมีคนใกล้ชิดเป็นมะเร็งปอด อย่าลืมดูแล และคอยให้กำลังใจ เพราะหากผู้ป่วยมีกำลังใจดีเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นจากมะเร็งได้ไวขึ้น! 

ป้องกันตัวเอง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด เพียงใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้าน และในสำนักงาน เปลี่ยนอากาศที่มีแต่มลพิษให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจสบาย และสวมหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ก่อนออกจากบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส มลภาวะ และ PM 2.5 ช้อปไอเทมลดความเสี่ยงมะเร็งปอดได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate ช้อปวันนี้มีโปรเด็ด ลดแรงตลอดทั้งเดือน พร้อมบริการส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อสินค้าครบ 499 บาท!

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก