ตกบ่ายทีไร หลายคนมีอาการง่วงนอนและอ่อนเพลีย อาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็เป็นกัน แต่ลองสังเกตตัวเองซักนิด ถ้าคุณง่วง หรือเหนื่อย ทั้งๆ ที่กลางคืนก็นอนหลับสนิท และวันทั้งวันก็ไม่ได้ใช้ร่างกายหนักอะไร หากมีอาการเหล่านี้ให้อนุมานตัวเองไว้ก่อนเลยว่า คุณอาจกำลังเป็นโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือที่เรียกว่าโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง!

โรคไฮโปไกลซีเมีย คืออะไร?

โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) เป็นโรคที่พบมากในหนุ่มสาวสังคมเมือง เรียกว่าเป็นโรคของคนสมัยใหม่ Hypo นั้น แปลความหมายได้ว่า ต่ำ และ Glycemia แปลความหมายได้ว่า เกี่ยวกับน้ำตาล รวมแล้ว Hypoglycemia ก็คือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลให้คนที่เป็นโรคนี้มีอาการอ่อนเพลีย และไร้เรี่ยวแรงตลอดทั้งวัน จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง’ นั่นเอง

โรคไฮโปไกลซีเมีย เกิดมาจากอะไร?

โรคไฮโปไกลซีเมีย สาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมการกิน เช่น เน้นกินแต่คาร์โบไฮเดรต ฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ขนมหวาน หรือของที่มีน้ำตาลสูงๆ มากเกินไปในแต่ละวัน 

การกินอาหารน้ำตาลสูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อนั้น ตับอ่อนภายในร่างกายของเราก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง ยิ่งเลือดมีน้ำตาลมากเท่าไหร่ ตับอ่อนก็จะยิ่งผลิตอินซูลินออกมามากเท่านั้น เมื่อผลิตออกมามากเกินไป ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดฮวบ ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วง ไร้เรี่ยวแรง อย่างที่หนุ่มสาวออฟฟิศ หรือคนวัยทำงาน ชอบเรียกกันว่า น้ำตาลต่ำ

โรคไฮโปไกลซีเมีย น้ำตาลในเลือดต่ำ

และเมื่อหลายคนที่รู้สึกว่าตัวเองนั่นอ่อนเพลีย เพราะน้ำตาลต่ำ โดยเฉพาะกับหนุ่มสาวออฟฟิศ และคนวัยทำงาน ก็จะยิ่งเต็มน้ำตาลเข้าร่างกาย เพื่อ (คิดว่า) ให้มีแรงทำงาน และไม่ง่วง ลูปนี้ก็จะวนเวียนไปไม่จบสิ้น ตับอ่อนต้องทำงานหนักตลอดเวลา และยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับร่างกาย

นอกจากนั้น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตแบบหนุ่มสาวสังคมเมือง เร่งรีบ เครียดสะสมจากงาน ปัญหาชีวิต และนอนไม่พอ จึงเรียกโรคไฮโปไกลซีเมียว่าเป็นโรคของคนสมัยใหม่นั่นเอง 

โรคไฮโปไกลซีเมีย มีอาการอย่างไร?

ผลกระทบและอาการจากโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ใช่แค่ความรู้สึกอ่อนเพลียเท่านั้น ทางการแพทย์ยังแบ่งกลุ่มอาการที่เกิดจากโรคไฮโปไกลซีเมียได้เป็นอีก 3 กลุ่ม คือ

อาการทางร่างกาย จากโรคไฮโปไกลซีเมีย

อาการทางร่างกายที่เกิดจากโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ อาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ปวด-เวียนหัว นอนไม่หลับ มือสั่น ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ/หลัง เป็นตะคริวบ่อย มีอาการคันตามผิวหนัง ภูมิแพ้ มือเท้าเย็น ตัวชา และทรงตัวไม่ค่อยอยู่

ความผิดปกติของระบบภายในร่างกาย จากโรคไฮโปไกลซีเมีย

ความผิดปกติของระบบภายในร่างกายที่เกิดจากโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีอาการเบื่ออาหาร แต่อยากกินของหวาน ปาก-คอแห้ง หิวบ่อยและหิวมากกว่าปกติก่อนถึงเวลาอาหาร ระบบขับถ่ายแปรปรวน หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นลมบ่อย ตามมาด้วยภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน หากเป็นหนักเข้า อาจกลายเป็นโรคเบาหวานได้

โรคไฮโปไกลซีเมีย น้ำตาลในเลือดต่ำ

อาการทางระบบประสาทและจิตใจ จากโรคไฮโปไกลซีเมีย

ความผิดปกติของระบบประสาทและจิตใจที่เกิดจากโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ รู้สึกเบื่อหน่าย ขาดสมาธิเวลาทำงาน ฟุ้งซ่านง่าย วิตกกังวลบ่อย ความสามารถในการตัดสินใจลดลง โมโหง่าย ความจำเสื่อม เริ่มไม่ชอบเข้าสังคม และยังอาจทำให้มีอาการทางระสาท จนถึงขั้นซึมเศร้า 

อย่างที่เห็นว่า อาการและผลกระทบจากโรคไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เป็นไฮโปไกลซีเมียจะมีอาการเหล่านี้ทั้งหมด หลักๆ แล้ว จะรู้สึกอ่อนเพลีย แม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาแล้วก็ยังไม่สดชื่น อยากนอนตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงบ่าย ที่สมองจะมึน คิดงานไม่ออก มีอาการง่วงจนอยากหลับ อยากกินของหวานๆ ตลอดเวลา รวมถึงระบบขับถ่ายไม่ปกติ และปวดเนื้อปวดตัว 

หากมีอาการเหล่านี้แล้วล่ะก็ อนุมานได้เลยว่าคุณกำลังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และควรรีบปรับพฤติกรรมด่วนๆ

ปรับพฤติกรรม ดูแลตัวเอง เอาชนะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • สิ่งแรกที่ต้องปรับ คือ พฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง ฟาสต์ฟู้ด แป้งขัดขาว เน้นกินโปรตีนไม่ติดมันจะช่วยให้อิ่มนาน และมีอาการโหยน้ำตาลน้อยลง 
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น จิบน้ำระหว่างวันบ่อยๆ จะทำให้เลือดสูบฉีดได้ดี ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย และง่วงระหว่างวันได้
  • ทานอาหารเช้า เน้นแป้งไม่ขัดสี จะช่วยให้รู้สึกอยากน้ำตาลน้อยลง และไม่หิวโหยมื้อเที่ยงมากเกินไป
  • ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ไม่ควรหักโหม เพราะอาจทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า และมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น
โรคไฮโปไกลซีเมีย น้ำตาลในเลือดต่ำ

ช้อป ชุดออกกำลังกาย และอุปกรณ์ออกกำลังกาย กับ OfficeMate

  • ก่อนนอนควรงดอาหารน้ำตาลสูง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้หลับยาก และอ่อนเพลียมากขึ้นในตอนเช้า
  • อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ นอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง แต่ถ้ามีเวลานอนไม่เยอะ เราแนะนำให้ทำตามกฎการนอนหลับ 90 นาที รับรองว่าได้ผล ตื่นมาสดชื่น แม้นอนน้อย อ่านบทความเพิ่มเติม : นอนน้อยยังไงให้สดชื่น กับเคล็ด (ไม่) ลับ “กฎการนอนหลับ 90 นาที”
  • หากงานหนักจนเครียด อย่าลืมหาเวลาพักผ่อน หรือไปพักร้อนเพื่อบูธพลัง จะช่วยให้ร่างกายเฟรชขึ้น และมีพลังพร้อมลุยงาน ทั้งยังช่วยลดอาการเบิร์นเอ้าท์ได้อีกด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม : เมื่อชีวิต “ติดหวาน” แก้ยังไงให้ไกลโรค? / วิธีรับมือกับ “ภาวะหมดไฟ” ทำความเข้าใจก่อน Burnout!

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดูเหมือนปกติธรรมดา แต่บางครั้งอาจนำมาซึ่งโรคร้ายได้แบบไม่คาดคิด หากใครรู้ตัวแล้วว่าพฤติกรรมและชีวิตประจำวันของเรากำลังนำพาอาการผิดปกติมาสู่ร่างกาย ก็แนะนำให้รีบปรับตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลา หรือเสียอย่างอื่นที่มากกว่านี้ในภายหลังนะคะ ติดตามบทความสุขภาพอื่นๆ จาก OfficeMate ได้ใหม่ในครั้งหน้า หรืออ่านบทความสุขภาพเพิ่มเติม ได้ที่ www.officemate.co.th/blog/

ช้อป น้ำดื่มสะอาดๆ ติดออฟฟิศ ดื่มให้สดชื่น แก้ง่วงยามบ่าย OfficeMate มีบริการส่งถึงที่ ไม่ต้องแบกด้วยตัวเอง ซื้อเป็นแพ็คติดโต๊ะทำงานไว้คุ้มกว่า! ช้อปเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.tmwa.or.th