OfficeMate มาแจ้งข่าวดีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์! ตั้งแต่ วันที่ 14 สิงหาคม 64 นี้ ไปรษณีย์ไทยประกาศช่วยเหลือชาว SME และร้านขายของออนไลน์ ลดค่าส่งพัสดุแบบ EMS สูงสุด 20% แต่มีข้อแม้ว่าน้ำหนักของพัสดุต้องอยู่ระหว่าง 2- 20 กิโลกรัม

ได้ส่วนลดค่าจัดส่งแบบนี้ อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ลงไปได้บ้าง เพราะค่าจัดส่งพัสดุเองก็ถือเป็นปัญหาหลักที่ร้านขายของออนไลน์ต้องแบกรับ บางครั้งก็โดนลูกค้าบ่นว่าค่าส่งแพง บางครั้งก็คิดค่าจัดส่งแล้วได้ไม่คุ้มทุน แต่นอกจากปัญหาเรื่องค่าจัดส่งแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่ร้านค้ามักโดนคอมเพลนบ่อยๆ คือ เรื่องของพัสดุ บางครั้งพัสดุถึงช้า ห่อมาแบบยับเยิน และอีกสารพัด พาลให้ร้านได้แต่รีวิวทางลบ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อครั้งต่อไป รวมถึงการหาลูกค้าใหม่ๆ เข้าร้านก็ยากมากขึ้น

วันนี้ OfficeMate เลยมีเทคนิคการส่งพัสดุแบบขั้นเทพ แบบที่ของจะถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย ได้ใจลูกค้าและไม่โดนคอมเพลนชัวร์! ไปดูกัน!  

5 เทคนิคส่งพัสดุแบบร้านขายของออนไลน์มือโปร

1.ชี้แจงรายละเอียดการจัดส่งพัสดุ 

การชี้แจงรายละเอียดถือเป็นการทำข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างร้านขายของออนไลน์และลูกค้า ร้านค้าควรมีพื้นที่สำหรับชี้แจงรายละเอียดต่างๆ อาจทำเป็นไฮไลท์สตอรี่ในอินสตาแกรม ทำโพสต์ปักหมุดในเฟซบุ๊ก หรือทำเป็นข้อความอัตโนมัติในไลน์ออฟฟิเชียล สิ่งที่ควรชี้แจง เช่น

  • ช่องทางการสั่งสินค้า DM/Inbox/Website/Line MyShop ฯลฯ
  • ช่องทางการชำระเงินมีแบบไหนบ้าง?
  • ตัวเลือกการจัดส่งสินค้า ลงทะเบียน/EMS/ขนส่งอื่นๆ
  • ระบุค่าจัดส่งให้ชัดเจน
  • ช่องทางติดตามพัสดุ (เลข Tracking)
  • ฯลฯ

นอกจากนั้น หากเป็นร้านพรีออเดอร์ ควรบอกระยะเวลาการรอสินค้า เช่น 7-10 วัน หรือ 15-30 วันหลังปิดรอบ หรือถ้ามีข้อกำหนดอื่นๆ ของร้านค้า ก็ควรแจ้งให้ลูกค้าทราบ อย่างตอนนี้ที่การขนส่งมีปัญหา อาจทำให้ลูกค้าต้องรอสินค้านานกว่าปกติ ซึ่งร้านค้าก็ควรชี้แจงเอาไว้ด้วยเช่นกัน การชี้แจ้งในตอนเริ่มต้นจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจต่อได้ว่าจะสั่งซื้อสินค้าจากเราหรือไม่ หากไม่มีการชี้แจงใดๆ เมื่อการสั่งซื้อหรือจัดส่งมีปัญหาในภายหลัง ก็เสี่ยงที่ร้านจะโดนคอมเพลนได้  

อ่านบทความเพิ่มเติม

2.การเลือกกล่องพัสดุ

ส่งพัสดุ ขายของออนไลน์

กล่องพัสดุสำหรับแพ็คสินค้าต้องเลือกให้เหมาะสม ความเหมาะสมที่ว่านี้ คือ เหมาะสมทั้งขนาด และรูปแบบของกล่อง ขนาดของกล่องพัสดุควรจะใหญ่กว่าสินค้าเล็กน้อย เพื่อให้วางสินค้าได้พอดีและมีที่เหลือสำหรับอุปกรณ์กันกระแทก แต่กล่องพัสดุต้องไม่ใหญ่เกินไป เช็กง่ายๆ คือ หากใส่สินค้าหุ้มบับเบิ้ลและอัดด้วยกันกระแทกแล้ว เมื่อเขย่ากล่อง ของข้างในต้องไม่เคลื่อนที่ หากของยังเคลื่อนที่ได้แปลว่ากล่องอาจจะใหญ่เกินไป ควรเปลี่ยนขนาดหรือเพิ่มอุปกรณ์กันกระแทก  

นอกจากเลือกขนาดกล่องให้เหมาะสม ควรเลือกประเภทของกล่องให้เหมาะสมกับสินค้าด้วยเช่นกัน สำหรับสินค้าทั่วๆ ไป เช่น อาหารแห้ง แก้ว แจกัน หนังสือ ต้นไม้ เครื่องสำอางค์ ฯลฯ ก็จัดส่งในกล่องกระดาษหรือกล่องไปรณีย์ได้เลย แต่ถ้าเป็นสินค้าชิ้นเล็ก เช่น เครื่องประดับ เคสโทรศัพท์ โปสการ์ด สติกเกอร์ ฯลฯ ควรเลือกใช้เป็นซองบับเบิ้ล จะได้ไม่ต้องเปลืองกล่อง แถมค่าจัดส่งยังถูกกว่าอีกด้วย ส่วนการจัดส่งสินค้าชนิดพิเศษ เช่น ภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้เป็นกล่องกระดาษทรงกระบอกที่สามารถม้วนโปสเตอร์ลงไปได้ แล้วหุ้มด้วยบับเบิ้ลอีกที เท่านี้ของก็ถึงมือลูกค้าแบบปลอดภัยแล้วล่ะค่ะ  

*กล่องพัสดุสำหรับจัดส่งสินค้า ไม่ควรใช้กล่องพัสดุที่ใช้แล้ว (Reuse) เพราะกระดาษกล่องจะยวบได้ง่าย ไม่แข็งแรงเท่ากล่องพัสดุใหม่ เสี่ยงที่สินค้าจะเสียหายระหว่างจัดส่ง*      

3.เทคนิคการห่อพัสดุ

ส่งพัสดุ ขายของออนไลน์

การห่อพัสดุมีสิ่งที่ต้องโฟกัสก็คือเรื่องของอุปกรณ์กันกระแทก ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้บับเบิ้ลหรือแผ่นรองกันกระแทก การห่อบับเบิ้ลแนะนำให้ห่อหุ้มที่ตัวสินค้าซัก 2-3 ชั้น ติดเทปบนบับเบิ้ลให้เรียบร้อยก่อนใส่ลงในกล่อง แต่หากเป็นสินค้าแตกง่ายหรือของมีคม ก็เพิ่มรอบบับเบิ้ลให้หนาขึ้น และอาจห่อกล่องพัสดุชั้นนอกด้วยบับเบิ้ลอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย 

สิ่งสำคัญในการห่อพัสดุ คือ ของข้างในกล่องต้องไม่เคลื่อนที่ อย่างที่บอกว่าควรเลือกขนาดกล่องให้พอดีกับสินค้าและความหนาของบับเบิ้ล แต่ในกรณีที่กล่องมีขนาดใหญ่กว่า แนะนำให้วางสินค้าเอาไว้ตรงกลาง แล้วยัดโฟมตัวหนอน กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือแกนกระดาษทิชชู่เอาไว้รอบๆ เพื่อยึดสินค้าให้อยู่กับที่ป้องกันการเสียหายระหว่างทาง  

*เทคนิคติดเทปปิดกล่องให้แน่นหนา คือ ติดเป็นรูปตัว H จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล่องพัสดุได้ หรือถ้าใครขายของเปราะบางอย่างจาน ชาม แก้ว กรอปรูป แนะนำให้ติดป้ายหรือติดเทป FRAGILE เพิ่ม จะช่วยให้พนักงานขนส่งสินค้าระมัดระวังกล่องพัสดุของเรามากขึ้น*

อ่านเทคนิคการห่อพัสดุเพิ่มเติม

4.การจ่าหน้าซอง

จ่าหน้าซองให้ของถึงมือลูกค้า อันดับแรกต้องถูกต้องและอ่านง่าย ซึ่งตรงนี้เราแนะนำให้พิมพ์ที่อยู่จัดส่งแล้วปริ้นแปะลงบนกล่องพัสดุ จะได้ไม่ต้องกังวลกับลายมือ แถมยังสะดวกและช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า และที่สำคัญ ต้องใส่ที่อยู่และเบอร์โทรของผู้ส่งทุกครั้ง เผื่อกรณีฉุกเฉิน ลูกค้าไม่อยู่รับของ หรือขนส่งไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ พัสดุจะได้ตีกลับถูกที่ ไม่กลายเป็นพัสดุที่หายสาปสูญ  

5.อย่าลืมแจ้ง Tracking Number 

ส่งพัสดุ ขายของออนไลน์

ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากทำการส่งของให้ลูกค้าแล้ว ใบเสร็จที่ได้มาอย่าเพิ่งทิ้งเด็ดขาด! เพราะในใบเสร็จจะมีเลขแทรคกิ้ง (Tracking Number) ของพัสดุแต่ละชิ้น ซึ่งเอาไว้สำหรับเช็กสถานะและติดตามการเดินทางของพัสดุ ว่า ณ วันนี้ เวลานี้ พัสดุถึงไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องไม่ลืมที่จะแจ้งเลขแทรคกิ้งนี้ให้ลูกค้าแต่ละคนรับรู้ ลูกค้าจะได้ทราบสถานะของสินค้าที่สั่งไป และเป็นการการันตีความโปร่งใสให้ร้านค้าออนไลน์ได้อีกทาง  

การแจ้งเลขแทรคทำได้ทั้งการสร้างตารางใน Google Sheet พิมพ์ข้อมูลของลูกค้า พร้อมด้วย Tracking Number ให้ลูกค้าเข้ามาเช็กเลขพัสดุของตัวเอง หรือในกรณีที่ออเดอร์ไม่เยอะมากจะส่งเลขแทรคแยกในช่องแชทส่วนตัวให้ลูกค้าก็ได้ แต่ไม่ว่าจะทำแบบไหน ขอให้ชี้แจงเป็นรายละเอียดช่องทางการเช็กเลขแทรคกิ้งให้ลูกค้ารับทราบก่อนด้วยนะคะ 

นอกเหนือจากเทคนิค 5 ข้อ ปัญหาอีกหนึ่งเรื่องของการจัดส่งสินค้าในตอนนี้ คือ ไปรษณีย์และขนส่งเอกชนในบางพื้นที่ที่จำต้องปิดให้บริการชั่วคราว ส่งผลให้การจัดส่งล่าช้าออกไป ก่อนจัดส่งสินค้า พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จึงควรเช็กรายละเอียดของบริษัทขนส่งแต่ละเจ้าก่อน หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องปรับเปลี่ยนการจัดส่งอย่างไร ก็อย่าลืมแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนด้วยนะคะ

แพ็คของส่งไว ได้ใจลูกค้า จัดเตรียมอุปกรณ์การแพ็ค ตุนเอาไว้ให้พร้อมรับทุกออเดอร์! พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยากลดค่าใช้จ่าย เข้ามาช้อปอุปกรณ์แพ็คกิ้งและสินค้าอื่นๆ เพื่อร้านขายของออนไลน์ของคุณได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate สั่งครบ 499 วันนี้ ส่งฟรีด้วยนะ! 

ขอบคุณข้อมูลจาก