ในเมืองร้อนอย่างบ้านเรา จะเปิดแอร์ฤดูไหนก็ไม่แปลก แต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมการเปิดแอร์ในหน้าร้อนจึงค่าไฟพุ่งแรงกว่าหน้าหนาว หรือหน้าฝน? จริงอยู่ที่ความร้อนทำให้แอร์เย็นช้า เปิดเครื่องปรับอากาศในหน้าร้อนจึงใช้เวลานานกว่าห้องจะเย็น และแอร์ต้องทำงานหนักกว่า ส่งผลให้ค่าไฟแพงหูฉี่ แต่สาเหตุไม่ได้อยู่ที่ฤดูกาลเพียงอย่างเดียว เพราะการเลือกแอร์ไม่เหมาะสมกับขนาดห้องก็มีส่วนทำให้ค่าไฟพุ่งได้เช่นกัน

การเลือกเครื่องปรับอากาศเครื่องใหญ่ ๆ BTU เยอะ ๆ นั้น แม้จะช่วยให้ห้องเย็นเร็ว แต่ด้วยความที่เย็นเร็วเกินไป ทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย แอร์จึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความชื้นในห้องสูง เสี่ยงทำให้ป่วยง่าย แต่ถ้าเลือกแอร์ BTU น้อยๆ เน้นประหยัดเข้าไว้ นอกจากห้องจะไม่เย็นแล้ว แอร์ต้องทำงานหนัก กระทบไปยังค่าไฟที่สูงลิ่ว แถมแอร์ยังเสี่ยงพังเร็วอีกด้วย ดังนั้น อยู่เมืองร้อนต้องรู้จักเลือกแอร์ ไปดูวิธีการคำนวณ BTU แอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง เพื่อความเย็นแบบมีประสิทธิภาพกันค่ะ 

BTU แอร์ คืออะไร? 

BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นหน่วยวัดพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล เมื่อนำมาใช้กับแอร์ BTU จะหมายถึงความสามารถในการถ่ายเทความร้อนออกจากห้องนั้นๆ ภายในเวลา 1 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น แอร์ขนาด 20,000 BTU หมายถึงแอร์เครื่องนี้ สามารถไล่ความร้อนออกจากห้องได้ 20,000 BTU ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งความสามารถในการไล่ความร้อนแล้วแทนที่ด้วยความเย็นก็จะสูงขึ้นไปตามขนาดของ BTU 

แต่ใช่ว่าแอร์ BTU สูงๆ จะเหมาะกับห้องทุกห้องในบ้าน เพื่อความคุ้มค่าในการซื้อแอร์ วันนี้ OfficeMate เลยมีวิธีคำนวณหาขนาดของ BTU แอร์ ให้เหมาะกับขนาดห้องมาฝากกัน หยิบตลับเมตรแล้วมาคำนวณไปพร้อมๆ กันเลย!

วิธีคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศ ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง

การคำนวณ BTU ของแอร์ ใช้สูตรดังนี้

สูตรคำนวณ BTU แอร์

พื้นที่ห้อง (กว้างxยาว) x ค่า Cooling Load = BTU

ค่า Cooling Load คือค่าความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ซึ่งเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์จะต้องกำจัดความร้อนนี้ออกไป แบ่งได้ตามลักษณะของห้องโดยคำนวณจากปัจจัยต่างๆ ภายในห้องนั้นๆ

  • ห้องนอน : ค่า Cooling Load เท่ากับ 700-750 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องนั่งเล่น : ค่า Cooling Load เท่ากับ 750-850 BTU/ตารางเมตร 
  • ห้องครัว : ค่า Cooling Load เท่ากับ 900-1000 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องทำงาน : ค่า Cooling Load เท่ากับ 800-900 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องประชุม : ค่า Cooling Load เท่ากับ 850-1000 BTU/ตารางเมตร 

ตัวอย่างวิธีการคำนวณ เช่น ห้องทำงาน กว้าง 5 เมตร ยาว 6.5 เมตร 

(5 x 6.5) x 800 = 26,000 BTU  

ดังนั้น ห้องทำงานนี้ ควรเลือกใช้แอร์ขนาด 26,000 BTU อาจสูง-ต่ำกว่าได้ แต่ไม่ควรคาดเคลื่อนเกิน 1,000 BTU

นอกจากนั้น สำหรับห้องที่มีเพดานสูงเกิน 3 เมตร ให้คำนวณขนาด BTU แอร์ โดยใช้สูตร 

สูตรคำนวณ BTU แอร์

[พื้นที่ห้อง (กว้างxยาวxสูง) x ค่า Cooling load] หาร 3 = BTU  

การเลือกแอร์ที่ BTU เหมาะสมกับขนาดห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นการประหยัดพลังงาน ช่วยยืดอายุการใช้งานให้เครื่องปรับอากาศ และช่วยเซฟค่าไฟได้ระดับหนึ่ง

ขนาด BTU แอร์

ปัจจัยอื่นๆ ที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อแอร์  

นอกจากการคำนวณ BTU ของแอร์แล้ว การเลือกซื้อแอร์ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ทิศทางของแดด ส่องเข้าห้องมาก-น้อยแค่ไหน ห้องที่แดดส่องตอนเช้า หรือตอนกลางวัน ความร้อนสะสมในห้องจะมากกว่า หากต้องการเปิดแอร์ในช่วงเวลานี้ อาจต้องเลือกแอร์ที่มี BTU สูงๆ เพื่อช่วยไล่ความร้อนได้เร็วขึ้น
  • หลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ หากหลังคามีฉนวนกันความร้อน จะช่วยป้องกันความร้อนจากแดดภายนอก ลดอุณหภูมิในห้อง ส่งผลให้ความร้อนสะสมในห้องน้อยกว่า สามารถเลือกแอร์ที่ BTU ต่ำลงมาได้
  • ความถี่ในการเปิด-ปิดประตู หากเปิด-ปิดประตูบ่อยๆ อากาศภายนอกที่ร้อนกว่าจะเล็ดลอดเข้าไปได้ ส่งผลให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อไล่ความร้อนที่เข้ามาออกไป
  • จำนวนคนที่อยู่ภายในห้อง ยิ่งคนอยู่เยอะความร้อนที่แผ่ระบายออกจากตัวก็จะยิ่งมาก ส่งผลให้ห้องร้อนขึ้น อาจต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าห้องจะเย็น 
  • จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้อง เช่น ไมโครเวฟ ตู้เย็น ทีวี เตารีด ฯลฯ ก็มีส่วนทำให้ห้องร้อนขึ้นได้เช่นกัน  

แอร์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาสูง ดังนั้น ก่อนจะซื้อแอร์มาติดตั้งจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ หรือหากไม่มั่นใจสามารถขอคำแนะนำจากตัวแทนหรือผู้เชี่ยวชาญในร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ เพื่อให้ได้แอร์ที่เหมาะสมกับห้องของเรามากที่สุด จะได้เย็นทั้งกาย และสบายใจตอนบิลค่าไฟมาด้วยนะคะ

คำนวณ BTU แอร์

อีกอย่างที่ขาดไม่ได้สำหรับการเลือกซื้อแอร์ ก็คือมองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จาก กฟผ. เพื่อประหยัดพลังงานขึ้นมาอีกขั้น! และการันตีว่าแอร์เครื่องนี้จะช่วยเซฟค่าไฟไปได้อีกระดับ ช้อปแอร์เครื่องใหม่กับ OfficeMate ช้อปได้ทุกฤดู พร้อมบริการส่งและติดตั้งฟรี* (เงื่อนไขตามที่บริษัทกำหนด) หรือจะช่วยแอร์เครื่องเก่า อัปเกรดเลเวลประหยัดพลังงาน เพิ่มความเย็น พร้อมเซฟค่าไฟ ด้วยบริการล้างแอร์จากออฟฟิศเมท อย่าปล่อยให้แอร์เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค คลิก! OfficeMate

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก : LG / teddyaircond