จากที่เราได้พบได้เจอกันมา โรคสมาธิสั้นมักจะเกิดกับเด็กเล็กเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า โรคเด็กซน แต่อันที่จริงแล้ว ผู้ใหญ่อย่างเราก็ซนได้เช่นกัน แม้จะไม่ได้ซนหรือมีพฤติกรรมเหมือนเด็กๆ แต่อาการของสมาธิสั้นจะแสดงออกผ่านพฤติกรรมบางอย่างโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งจะคอยบ่อนทำลายประสิทธิภาพการทำงานของเราไปทีละเล็กทีละน้อย ทั้งยังส่งผลไปถึงสุขภาพจิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย 

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มเอ๊ะแล้วว่าที่ผ่านมาเรามีอาการของโรคสมาธิสั้นบ้างรึเปล่านะ? วันนี้ OfficeMate เลยจะพาไปดูกันว่าผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นมักมีพฤติกรรมแบบไหน? แล้วจะรักษาให้หายได้รึเปล่า?    

โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ (ADHD)

โรคสมาธิสั้น (ADHD : Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดพามีน (Dopamine) หลั่งออกมาน้อยเกินไป ส่งผลให้มีพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดแปลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก หากพ่อแม่สังเกตอาการได้เร็ว รีบรักษาได้ทันก็สามารถหายขาดได้ แต่หากเป็นโรคสมาธิสั้นแล้วไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็ก โรคนี้ก็จะเติบโตมาพร้อมๆ กันจนกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นนั่นเอง 

โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • มีอาการสมาธิสั้นมาตั้งแต่เด็ก แต่ได้รับการรักษามาเป็นอย่างดี ผู้ใหญ่ที่มีโรคสมาธิสั้นประเภทนี้ จะสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ แต่อาจมีอาการสมาธิสั้นหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถควบคุมตัวเองได้
  • มีอาการสมาธิสั้นมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นประเภทนี้ยังสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ แต่อาจมีพัฒนาการช้า หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า ต้องทานยาเป็นประจำ และต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
  • มีอาการสมาธิสั้นตั้งแต่เด็กแบบไม่รู้ตัว ไม่ได้รับการรักษา จนเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่สมาธิสั้นที่มีปัญหาในด้านการใช้ชีวิต การทำงาน รวมไปถึงการเข้าสังคม

อาการของผู้ใหญ่สมาธิสั้น

อย่างที่บอกว่าผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นส่วนใหญ่แล้วมีอาการมาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้รับการรักษา หรือในตอนเด็กอาจไม่ทันได้สังเกตเห็น จนอาการถูกบ่มเพาะมาเรื่อยๆ และแสดงออกชัดเจนขึ้นในวัยผู้ใหญ่  

โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่

อาการสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ เช่น

  • ขาดสมาธิ วอกแวกได้ง่าย
  • ฟังจับใจความไม่ได้ 
  • มักจะทำงานไม่เสร็จตามเดดไลน์
  • ทำงานผิดพลาดบ่อย 
  • ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมเริ่มทำงาน
  • ชอบพูดแทรก หรือพูดขัดจังหวะในวงสนทนา
  • เริ่มต้นงานแล้วทำไม่เสร็จ หรือเปลี่ยนใจไปทำอย่างอื่น
  • มาทำงานสาย หรือไปตามนัดสายเป็นประจำ
  • อารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย
  • หุนหันพลันแล่น ถูกกระตุ้นอารมณ์ได้ง่าย
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เบื่อง่าย ไม่ชอบคอยอะไรนานๆ
  • มีอาการอยู่ไม่สุข หยุกหยิก ขยับแขน ขยับขาตลอดเวลา เมื่อต้องนั่งอยู่ที่เดิมนานๆ 
  • ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ตัดสินใจซื้อทันทีที่เห็นป้ายโปรโมชั่น ทั้งที่รู้ตัวว่าไม่จำเป็นต้องใช้
  • โต๊ะทำงานรก บ้านรก กระเป๋ารก รถรก
  • หาของไม่เจอบ่อยๆ
  • ขี้ลืมเป็นประจำ

พฤติกรรมที่เราลิสต์มาเหล่านี้ หากมองเผินๆ อาจดูเป็นนิสัยปกติที่ใครหลายคนมี ซึ่งการคิดว่าเป็นนิสัยส่วนตัวนั่นเองที่ทำให้โรคสมาธิสั้นไม่ได้ถูกแก้ไข หรือได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น ลองสังเกตตัวเอง หากพบว่าเราเคยถูกตำหนิในเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านบน นั่นแปลว่าคุณอาจเข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้นได้ 

ผลกระทบจากโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องของหน้าที่การงาน การเข้าสังคม ลามไปถึงสุขภาพร่างกาย 

เมื่อคุณไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายได้ ไม่มีสมาธิ บริหารเวลาไม่เป็น เข้างานสายบ่อยๆ เรื่องเหล่านี้จะทำให้ชีวิตยุ่งเหยิง ถูกตำหนิ หรืออาจถึงขั้นโดนไล่ออก นอกจากนั้น สำหรับคนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ก็เข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้นเช่นกัน 

การชอบพูดแทรกยังทำให้ดูเป็นคนไร้มารยาท อารมณ์ที่แปรปรวน หรือถูกกระตุ้นได้ง่าย รวมไปถึงการชอบลืมนัด ยังส่งผลไปยังปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หากคุณเป็นคนที่มักจะทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นบ่อยๆ หรือผิดพลาดแบบเดิมๆ ในความสัมพันธ์ อาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรคสมาธิสั้นเช่นกัน

อาการเหล่านี้หลายคนรู้ตัว แต่มักจะควบคุมตัวเองได้ยาก ทำให้ผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้น มักจะมี Self Esteem ต่ำ หรือมีความไม่ชอบตัวเอง อาจเพราะโดนตำหนิบ่อย หรือโดนกันออกจากสังคม ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมา เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ บางคนมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วย หรือบางคนหนีไปพึ่งสารเสพติด สุรา เพื่อคลายเครียด ซึ่งอาจทำให้อาการแย่งกว่าเดิม   

ปรับพฤติกรรม รักษาโรคสมาธิสั้น

จะเห็นแล้วว่า โรคสมาธิสั้นไม่เพียงแต่เปลี่ยนนิสัยใจคอเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจทำให้สุขภาพจิตและชีวิตพังได้ หากมีอาการสมาธิสั้นจนถึงขั้นวิตกกังวล หรือซึมเศร้า เราแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองนั้นมีอาการหรือนิสัยบางอย่างที่คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นโรคสมาธิสั้น มาปรับพฤติกรรม เพื่อรักษาอาการเหล่านี้ให้หายไปกันค่ะ

ออกกำลังกายรักษาโรคสมาธิสั้น
  • ใครขี้ลืมบ่อยๆ แนะนำให้จดโน้ตเพื่อเตือนความจำอยู่เสมอ
  • วางแผนการทำงานล่วงหน้า แนะนำให้จด To do list ในตอนเช้าก่อนเริ่มทำงานในแต่ละวัน
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ตัวเอง จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ เก็บกวาดบ้านให้สะอาด และทำความสะอาดภายในรถบ้าง
  • พยายามควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ หากรู้สึกโกรธ หรือไม่พอใจ ให้ลองตั้งสติ นับ 1-10 แล้วหายใจเข้าลึกๆ การหายใจเข้าให้เต็มปอด จะช่วยขจัดอากาศเก่าๆ ที่ตกค้างอยู่ และเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ทำให้หายเครียดได้  
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้มีแรงสู้กับภาระงานในทุกๆ วัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สุขภาพ และอารมณ์ดีขึ้นได้

และที่สำคัญ สิ่งที่ต้องเอาชนะให้ได้อีกหนึ่งอย่างก็คือ ใจตัวเอง หากเอาชนะใจตัวเองได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ไม่ยากอย่างที่คิด ใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการสมาธิสั้น หรือมีนิสัยไม่ดีเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งขัดขวางการทำงาน ลองปรับเปลี่ยนและสร้างนิสัยที่ดีกว่าเดิมให้ตัวเอง รับรองว่าจะเป็นผลดีในระยะยาวแน่นอน OfficeMate เป็นกำลังใจให้ชาวออฟฟิศทุกคน มีแรง และพลังในการทำงาน และพร้อมต่อสู้กับวิกฤตนี้จนกว่ามันจะสิ้นสุดลงนะคะ 

ช้อปอุปกรณ์สำนักงาน ไอเทมทำงานที่บ้าน หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เว็บไซต์ OfficeMate พร้อมบริการส่งฟรีเมื่อช้อปครบ 499 บาท!

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต / iStrong Mental Health