หากใครเคยตรวจสุขภาพประจำปีคงเคยเห็นค่าไตรกลีเซอไรด์, LDL หรือ HDL ผ่านตากันมาบ้าง เหล่านี้คือค่าแสดงระดับไขมันในเลือดมีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อเดซิเมตร ว่าแต่มันมีความหมายอย่างไร? มีไขมันในเลือดเยอะหรือน้อยแล้วจะส่งผลอะไรต่อร่างกายบ้าง? วันนี้ Officemate จะพาไปทำความเข้าใจกัน!  

ไขมันในเลือด คืออะไร?

ไขมันในเลือด คือไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด ซึ่งจะต่างจากไขมันที่สะสมอยู่บริเวณรอบเอว ต้นแขน หรือต้นขา ดังนั้น คนที่มีไขมันในเลือดสูง ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นคนอ้วน หากจะดูว่ามีไขมันในเลือดเท่าไหร่จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกาย โดยการตรวจเลือดเท่านั้น

ไขมันในเลือด มี 2 ประเภท คือ 

  1. คอเลสเตอรอล  

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อบุผนังเซลล์ ช่วยผลิตฮอร์โมน รวมถึงสร้างน้ำดีเอาไว้สำหรับย่อยไขมันในลำไส้ ร่างกายของเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้เองโดยตับ นอกจากนั้น ก็ยังมีคอเลสเตอรอลอีกส่วนหนึ่งที่มาจากกระบวนการย่อยสลายอาหารที่เรากินเข้าไป 

คอเลสเตอรอล แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • LDL (Low-Density Lipoprotein) เป็นไขมันอิ่มตัว ไม่ดีต่อร่างกาย ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ หากมี LDL สะสมอยู่มาก จะเกิดไขมันพอกในเส้นเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก อาจกลายเป็นโรคเส้นเลือดตีบและความดันสูง     
  • HDL (High-Density Lipoprotein) คือไขมันไม่อิ่มตัว เรียกว่าเป็นไขมันดี มีส่วนช่วยกำจัด LDL ที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ยิ่งมีค่า HDL สูง ก็ยิ่งดีต่อร่างกาย
คอเลสเตอรอล
  1. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันอีกหนึ่งชนิดที่ร่างกายสร้างขึ้น หรืออาจมาจากแป้งและน้ำตาลที่เราบริโภค มีประโยชน์ในเรื่องการให้พลังงาน และมีส่วนช่วยดูดซึมวิตามิน A, D, E และ K ไขมันชนิดนี้ช่วยให้อิ่มท้อง แต่หากมีมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบเช่นกัน

ดังนั้น ไขมันที่เราทุกคนต้องระวังไม่ให้มีมากเกินไป ก็คือ ไขมันจากคอเลสเตอรอล ชนิด LDL และไขมันจากไตรกลีเซอไรด์

ระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสม    

  • ค่า LDL หรือไขมันไม่ดี ควรต่ำกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดตีบหรือเบาหวาน ควรควบคุมระดับ LDL ให้ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ค่า HDL หรือไขมันดี ควรมีมากกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ค่าคลอเลสเตอรอลในเลือดรวมแล้ว (LDL+HDL) ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 
  • ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรน้อยกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  

สาเหตุไขมันในเลือดสูง และผลกระทบ

สาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ และโรคไต
  • ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด
  • การตั้งครรภ์
  • อาหารการกิน 
  • แอลกอฮอล์ บุหรี่
  • เคลื่อนไหวน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ไขมันในเลือด

ภาวะไขมันในเลือดสูง มักไม่แสดงอาการออกมาชัดเจนและไม่มีสัญญาณเตือน ไขมันที่ค่อยๆ พอกอยู่ในหลอดเลือด หากไม่รีบลดหรือกำจัดออกไป กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะถึงตอนที่เส้นเลือดตีบ ความดันสูง หัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตไปเสียแล้ว ดังนั้น หากไม่อยากเข้าใกล้ภาวะอันตรายเหล่านี้ เรามาหาทางลดและป้องกันไม่ให้ระดับไขมันในเลือดสูงกันดีกว่าค่ะ 

วิธีป้องกันและลดระดับไขมันในเลือด

โดยปกติแล้ว คนที่ตรวจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง คุณหมอจะให้ทานยาที่ช่วยลดไขมัน แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือคนวัยหนุ่มสาวที่ยังมีความเสี่ยงน้อย เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารการกิน ก็ช่วยลดความเสี่ยงไขมันในเลือดสูงในอนาคตได้ 

  1. ลดปริมาณเนื้อแดง เน้นแต่เนื้อขาว 

ในเนื้อสัตว์มีปริมาณไขมันอิ่มตัว หรือ LDL อยู่เยอะ แต่ถ้าไม่กินก็คงไม่ได้ เพราะร่างกายยังต้องการโปรตีน ดังนั้น จึงควรเน้นกินแต่เนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ หรือเนื้อปลา อย่าลืมลอกหนังออกเพื่อลดปริมาณไขมันและแคลอรี่ให้ต่ำลงอีก

อ่านเพิ่มเติม ประโยชน์ของโปรตีนและการกินโปรตีนให้ถูกวิธี 

  1. ลดการกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

อาหารคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล จำพวก กุ้ง หมึก หอย ปู, เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์ติดมัน, กะทิ, ของทอด, ขนมถุง, ของหวาน, เบเกอรี่, อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ฯลฯ ใครที่กินอาหารเหล่านี้เป็นประจำ แม้น้ำหนักตัวจะไม่เพิ่ม แต่หากไปลองตรวจดูจะพบว่าระดับไขมันในเลือด หรือ LDL รวมไปถึงไตรกลีเซอไรด์นั้นสูง แต่เพียงแค่ลดอาหารเหล่านี้ ก็ช่วยลดระดับไขมันในเลือดลงได้

อ่านเพิ่มเติม 8 เคล็ดลับกินอาหารคลีนให้เห็นผล น้ำหนักลดลงและไม่ตะบะแตก

  1. เพิ่มผัก ผลไม้ และอาหารที่มีไขมัน HDL สูง 
ลดไขมันในเลือด

อาหารที่มี HDL หรือ ไขมันดีอยู่เยอะ เช่น อะโวคาโด, ดาร์กช็อกโกแลต, ไข่ไก่, แซลมอน, อัลมอนด์, ถั่วลิสง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, น้ำมันมะกอก, เมล็ดเจีย และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยไขมันดีที่ไม่อิ่มตัว กินแล้วไม่ไปพอกอยู่ที่เส้นเลือด และยังช่วยกำจัดไขมันอิ่มตัว LDL ได้อีกด้วย ส่วนผักและผลไม้มีกากใยสูง ช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็กินให้อยู่ในปริมาณพอเหมาะตามหลักโภชนาการและพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน จะได้ไม่มีพลังงานส่วนเกินที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 

  1. งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ 

งานวิจัยหลายฉบับยืนยันว่าการสูบบุหรี่มีส่วนทำให้ไขมันตัวร้าย หรือ LDL เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ HDL ต่ำลง ทั้งยังสร้างความเสียหายให้หลอดเลือด ทำให้ไขมันสะสมและอุดตันได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง มีทั้งแป้งและน้ำตาล นอกจากจะทำให้ลงพุงแล้ว ยังทำให้เกิดไขมันสะสมที่หลอดเลือดอีกด้วย

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
ลดไขมันในเลือด

การออกกำลังกาย นอกจากช่วยลดไขมันที่พอกอยู่ตามร่างกายแล้ว ยังช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ เน้นออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ เช่น แอโรบิค วิ่ง กระโดดเชือก หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที เพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานออกมาใช้ ช่วยเร่งระบบเผาผลาญ ช่วยลดไขมันสะสม ทั้งยังช่วยให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น

  1. ตรวจสุขภาพประจำปี

หนทางเดียวที่จะรู้ระดับน้ำตาลในเลือดก็คือ ‘การตรวจสุขภาพ’ โดยการเจาะเลือดและซักประวัติ ควรเข้ารับการตรวจทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อให้รู้ระดับไขมันและคอเลสเตอรอล จะได้เตรียมรับมือและปรับพฤติกรรมได้ทัน

ไขมันในเลือดสูงไม่มีสัญญาณเตือน อย่าลืมปรับพฤติกรรมและอาหารการกิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไขมันสะสมกันนะคะ เข้ามาช้อปอุปกรณ์ออกกำลังกาย กระดาษซับน้ำมัน และหม้อทอดไร้น้ำมัน เอาไปปรุงอาหารไขมันต่ำ พร้อมลดระดับไขมันในเลือด ได้เลยที่ OfficeMate ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท!

ขอบคุณข้อมูลจาก