แบงค์ปลอม เป็นปัญหามานานแสนนาน แม้จะมีการกวาดล้างจับกุมขบวนการผลิตแบงค์ปลอมหลายต่อหลายครั้ง แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีข่าวพบแบงค์ปลอมระบาดให้เห็นอยู่เป็นระยะ

แบงค์ปลอมมีให้เห็นอยู่หลายเลเวล ตั้งแต่แบงค์กาโม่ แบงค์ปลอมแบบถ่ายเอกสารสี ไปจนถึงแบงค์ปลอมที่ผลิตกันเป็นขบวนการ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายธนบัตรของจริงจนแทบแยกไม่ออก 

รูปแบบการใช้แบงค์ปลอมของมิจฉาชีพ

แบงค์ปลอมมีการระบาดเป็นระลอก และมีให้เห็นหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อเปลี่ยนเอาธนบัตรจริงกลับไป ผู้เสียหายมักเป็นร้านค้า พ่อค้า แม่ค้า รวมถึงลูกค้าที่ได้รับเงินทอนเป็นแบงค์ปลอมไปโดยไม่รู้ตัว ไปดูกันดีกว่าค่ะว่ามิจฉาชีพมักนำแบงค์ปลอมมาใช้ในรูปแบบไหนกันบ้าง

  • ร้านค้า หรือธุรกิจ ที่เป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าปลีกในต่างจังหวัด ปั๊มน้ำมัน แท็กซี่ ผับบาร์ ตลาดโต้รุ่ง หรือพื้นที่ค้าขายที่มีความรีบเร่ง และมีแสงสว่างน้อย 
  • มิจฉาชีพมักนำแบงค์ปลอมไปใช้กับร้านค้าปลีก โดยการใช้แบงค์ปลอมใบใหญ่ 500 บาท หรือ 1,000 บาท ซื้อสิ่งของที่มูลค่าไม่มาก เพื่อรับเงินทอนที่เป็นธนบัตรจริง
  • ช่วงที่มิจฉาชีพมักนำแบงค์ปลอมออกมาใช้ คือ ช่วงวันหยุด หรือช่วงเทศกาล ที่มีการจับจ่ายใช้สอยกันมาก เพราะแม่ค้าพ่อค้ามักจะสาละวนกับการขายของ จนไม่ทันได้สังเกต
  • มิจฉาชีพบางรายนำแบงค์ปลอมใบใหญ่มาขอแลกเป็นแบงค์ย่อย ซึ่งการแลกเงินก็จะทำให้มิจฉาชีพได้รับธนบัตรจริงกลับไป
  • บางครั้งมิจฉาชีพใช้วิธีฝากแบงค์ปลอมเข้าธนาคารด้วยเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ (ADM) แล้วทำการถอนเงินออกจากบัญชีด้วยตู้เอทีเอ็มซึ่งเป็นธนบัตรจริง

บทลงโทษของการ ‘ผลิต’ ‘ใช้’ และ ‘ครอบครอง’ แบงค์ปลอม

การผลิต การใช้ และการครอบครองแบงค์ปลอม มีบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499  ดังนี้

  • บทลงโทษสำหรับผู้ปลอมแปลงธนบัตร : ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 ระบุว่า มีโทษจำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ 200,000 – 400,000 บาท
  • บทลงโทษสำหรับผู้มีแบงค์ปลอมในครอบครองและนำออกมาใช้จ่าย ‘โดยตั้งใจ’  : ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 ระบุว่า มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 – 15 ปี และปรับ ตั้งแต่ 20,000 – 300,000 บาท
  • บทลงโทษสำหรับผู้มีแบงค์ปลอมโดยไม่ตั้งใจ แต่กลับนำออกมาใช้จ่ายหลังจากตรวจสอบแล้วว่าเป็นแบงค์ปลอม : ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 ระบุว่า มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • บทลงโทษสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือปลอมแปลงธนบัตร : จำคุก ตั้งแต่ 5 – 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท 
บทลงโทษของการผลิต ใช้ และครอบครองแบงค์ปลอม

ในเมื่อการมีแบงค์ปลอมในครอบครองเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แล้วถ้าเราบังเอิญได้รับมาหรือมีแบงค์ปลอมอยู่ในครอบครอง ควรทำยังไงดี?

เผลอรับ หรือ มีแบงค์ปลอมอยู่ในครอบครอง ‘โดยไม่รู้ตัว’ ทำยังไงดี?

บทลงโทษทางกฎหมายนั้น มีไว้สำหรับผู้ใช้แบงค์ปลอม ‘โดยตั้งใจ’ เรียกง่ายๆ ว่า นำแบงค์ปลอมไปใช้ ทั้งๆ ที่รู้ว่านั่นคือแบงค์ปลอม แต่สำหรับพ่อค้า แม่ค้า เจ้าของกิจการ ห้างร้าน หรือลูกค้าที่เป็นเหยื่อ ได้รับแบงค์ปลอมมาโดยไม่รู้ตัว ธนาคารแห่งปะเทศไทย (ธปท.) แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

  1. เมื่อรู้ตัวว่าได้รับแบงค์ปลอม หรือตรวจสอบแล้วว่ามีแบงค์ปลอมอยู่ในครอบครอง ห้ามนำออกไปใช้จ่ายอีกโดยเด็ดขาด  
  2. ใช้ปากกาเขียนคำว่า ‘ปลอม’ เพื่อแยกออกจากธนบัตรจริง 
  3. นำไปให้ธนาคารพาณิชย์ส่งเข้าระบบ ขึ้นบัญชีเป็น ‘ธนบัตรปลอม’ 
  4. หากมีผู้นำแบงค์ปลอมมาใช้ ควรสอบถามรายละเอียด ว่าได้มาจากใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ เพื่อสืบสาวราวเรื่องไปยังตัวการ หรือจดจำรูปพรรณ การแต่งกาย ลักษณะพิเศษของผู้ใช้แบงค์ปลอมให้มากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งความ สืบสวน และจับกุม ทั้งยังเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ให้ตัวเองอีกด้วย
  5. เมื่อรู้ตัวว่าได้รับแบงค์ปลอม หรือมาตรวจสอบภายหลังว่ามีแบงค์ปลอมอยู่ในครอบครอง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งกับธนาคารแห่งประเทศไทย 
  6. หากไม่แน่ใจ หรือมีข้อสงสัยว่าตัวเองอาจได้รับแบงค์ปลอม สามารถสอบถามข้อมูลหรือติดต่อแบงค์ชาติ โทร. 1213

หลีกเลี่ยงแบงค์ปลอมยังไงดี?

  • สังเกตด้วยตาเปล่า
สังเกตแบงค์ปลอมด้วยตาเปล่า

แม้จะมีเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีช่วยผลิตแบงค์ปลอมให้ดูเหมือนธนบัตรจริงแค่ไหน แต่ถึงอย่างไร ธนบัตรจริงจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ลายน้ำ ตัวเลข เส้นใยต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถสังเกต และแยกแบงค์ปลอมออกได้ด้วยตาเปล่า เพียงแต่ต้องอาศัยเทคนิคเล็กน้อย ใครอยากได้วิธีการสังเกตแบงค์ปลอมด้วยตัวเองแบบละเอียด อ่านต่อได้ที่บทความนี้เลย ‘วิธีเอาตัวรอดเมื่อแบงค์ปลอมระบาด ตรวจยังไงไม่ให้พลาดตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ!!!

  • ใช้เครื่องตรวจธนบัตร
เครื่องตรวจธนบัตร

การสังเกตด้วยตาเปล่า เป็นวิธีการตรวจสอบแบงค์ปลอมแบบเบื้องต้น แต่สำหรับคนทำธุรกิจที่มีเงินสดผ่านมือ หรือมีเงินหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก ถ้าจะใช้การสังเกตคงเสียเวลาอยู่ไม่น้อย เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือสำหรับตรวจสอบแบงค์ปลอมโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘เครื่องตรวจธนบัตร’ เพื่อทุ่นเวลา และสามารถตรวจสอบได้แม่นยำกว่า

เครื่องตรวจธนบัตรปลอม ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่

  1. เครื่องตรวจธนบัตรด้วย แสง UV

เป็นการตรวจคุณสมบัติบนผิวธนบัตร ด้วยแสง UV ที่มีความสว่างสูง เช่น เนื้อกระดาษ คุณภาพกระดาษ ลายเส้น การสะท้อนแสง ฯลฯ ซึ่งสามารถตรวจธนบัตรได้พร้อมกันหลายฉบับ และมีความแม่นยำสูง

  1. เครื่องตรวจแม่เหล็กในธนบัตร (MG)

ใช้ในการตรวจหาแม่เหล็กในธนบัตร เพราะหากเป็นธนบัตรปลอม จะไม่มีแม่เหล็กผสมอยู่ จึงถือว่าเครื่องตรวจธนบัตรแบบจับแม่เหล็กนี้มีความแม่นยำพอสมควร ทั้งยังตรวจได้รวดเร็ว ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับแม่เหล็กขนาดใหญ่ ที่ตรวจได้ทุกสกุลเงิน 

  1. เครื่องตรวจลายน้ำบนธนบัตร (WM)

เครื่องตรวจธนบัตรแบบสุดท้าย ใช้ตรวจหาลายน้ำโดยเฉพาะ ทั้งยังสามารถตรวจสอบรูปสัญลักษณ์ และตัวเลขแจ้งชนิดราคาที่ซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ได้ 

สำหรับเครื่องตรวจธนบัตรบางเครื่อง สามารถตรวจได้ทั้ง 3 แบบ (3 in 1) ไม่ว่าจะ UV, MG หรือลายน้ำ ซึ่งเหมาะกับคนทำธุรกิจที่ในแต่ะวันมีธนบัตรผ่านมือจำนวนมาก แต่สำหรับคนทั่วไป หรือพ่อค้าแม่ค้ารายเล็ก อาจใช้เครื่องตรวจธนบัตรขนาดเล็กที่มีระบบปฏิบัติการ 1 ระบบ หรือใช้เครื่องตรวจธนบัตรแบบพกพา เลือกจากยี่ห้อที่มีมาตรฐาน ก็สามารถตรวจจับแบงค์ปลอมได้แม่นยำเช่นกันค่ะ

เครื่องตรวจธนบัตรแบบพกพา

และถ้าคุณกำลังตามหาเครื่องตรวจธนบัตรคุณภาพดี ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกล ออฟฟิศเมทของเรามีเครื่องตรวจธนบัตรจากหลายแบรนด์คุณภาพ มีมาตรฐาน และไว้ใจได้ พร้อมให้คุณช้อปได้แล้ววันนี้ ที่ OfficeMate

ขอบคุณข้อมูลจาก

ป้องกันตัวอย่างไรจากธนบัตรปลอม

https://brandinside.asia/fake-banknote/

https://money.kapook.com/view208949.html

0 CommentsClose Comments

Leave a comment