ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ ได้แก่ บ่า ไหล่ แขน โดยเฉพาะ ข้อมือ ซึ่งอาการจะส่งผลมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการสะสมของโรค ขณะที่บางรายนอกจากอาการเจ็บ หรือ ปวดแล้ว ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สายตาพร่ามัว ตาแห้งระคายเคือง ปวดศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจลุกลามทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือทับเส้นประสาท ส่งผลให้เป็นอัมพาต หรือพิการได้ในอนาคต ก่อนจะสายเกินแก้ เรามาเช็คร่างกายเบื้องต้นกันก่อนว่าเข้าข่ายเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ จากอาการดังต่อไปนี้

สัญญาณเตือน ‘ออฟฟิศซินโดรม’

  1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง บริเวณบ่า ต้นคอ ลุกลามถึงกลางหลังช่วงสะโพก
  2. ไมเกรนถามหา จากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ความร้อนจากแสงหรืออากาศ และการขาดฮอร์โมนบางชนิด
  3. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค จากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ และนิ้วมือ มักเกิดจากการจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็น เกิดเป็นพังผืดยึดจับ

หากสังเกตพบว่าเริ่มมีอาการเหล่านี้แม้เพียง 1 ข้อจากอาการทั้งหมด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที ซึ่งวิธีการรักษาก็มีตั้งแต่การทำกายภาพ ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งต้องใช้เงิน และเวลาในการรักษาค่อนข้างมาก  แต่ถ้าหากไม่อยากเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วล่ะก็ เรามีวิธีป้องกันที่ทำได้ไม่ยาก ที่สำคัญทำแล้วห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมอย่างแน่นอน

5 วิธีป้องกัน และบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

1.ขจัดปัญหาหลังติดเบาะ

สัญญาอันตรายของอาการออฟฟิศซินโดรม สาเหตุหนึ่งเกิดจากการนั่งท่าเดิมติดต่อกันนานเกินไป การลุกเดินทุกๆ 1 ชั่วโมงจะช่วยแก้ปัญหากล้ามเนื้อยึดเกร็งขณะทำงานได้เป็นอย่างดี

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

หมั่นออกกาลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการบริหารร่างกายง่ายๆ ขณะทำงาน

  • บริหารกล้ามเนื้อคอ: นำมือซ้ายอ้อมจับศีรษะด้านขวา จากนั้นดึงมาทางซ้ายจนรู้สึกว่าตึง นับ 1-10 สลับข้างทำวิธีเดียวกัน
  • บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่: ยกไหล่ให้สุดแล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10
  • บริหารกล้ามเนื้อช่วงสะโพก: ยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา เอนตัวมาด้านหน้า นับ 1-10 สลับข้างทำวิธีเดียวกัน
  • บริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง: ยืดแขนประกบกันเหนือศีรษะ จากนั้นเอนตัวไปด้านข้าง  นับ 1-10 ก่อนจะเปลี่ยนข้างทำวิธีเดียวกัน

การบริหารร่างกายเหล่านี้ ควรทำอย่างน้อย 2 ชั่วโมง 1 ครั้ง เพื่อยืดกล้ามเนื้อมัดหลักในการทางานให้ผ่อนคลายและไม่ตึงจนนำไปสู่อาการเจ็บปวดเรื้อรัง

3.จัดระเบียบโต๊ะทำงาน

วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการวางของที่ต้องใช้ไว้ใกล้ตัว เพื่อป้องกันการเคล็ดขัดยอกขณะเอี้ยวตัวหยิบจับ หรือยกของหนักจากพื้น ป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ภัยร้ายที่จะนำไปสู่การเป็นอัมพาตของกระดูกสันหลัง

4. ปรับอุปกรณ์สำนักงานให้เหมาะสม

เริ่มด้วยการตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดให้อยู่ในแนวตรงกับลำตัว ระยะความห่างของจอเท่ากับ 1 ช่วงแขน โดยปรับจอให้อยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และวางตำแหน่งของเมาส์ และคีย์บอร์ดให้ข้อศอกวางขนานกับโต๊ะทำมุมตั้งฉาก 90 องศา และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่

5. เลือกใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ

หลักง่ายๆ ในการเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ควรคำนึงถึงความเอียงของเบาะ ที่ควรเอียงมาด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูก, ระดับความสูงที่สามารถปรับได้เพื่อปรับระดับให้เข่าของเราขนานกับพื้นพอดี และสูงในระดับที่นั่งแล้วข้อศอกพอดีกับระดับโต๊ะหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ซึ่งในปัจจุบันมีการผลิตเก้าอี้เพื่อสุขภาพออกมาให้เลือกมากมาย และมีวางจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะที่ Office Mate มีเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ให้คุณเลือก หลายรุ่น หลายราคาตามความต้องการ  คุณสามารถดูรายละเอียดของเก้าอี้เพื่อสุขภาพทั้งหมดได้ที่ OfficeMate Shop

ออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่แค่โรคธรรมดาที่กินยา นอนพักแล้วหาย แต่เป็นอาการของโรคที่อาจส่งผลร้ายในระยะยาวกับร่างกาย และทรัพย์สิน จากพฤติกรรมที่คุณเองเป็นคนสร้าง เพราะฉะนั้นอยากห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม แล้วละก็ อย่าลืมดูแล และป้องกันตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ

บทความแนะนำ!