ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบการทำธุรกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของ “การขายของออนไลน์” มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถผันตัวมาประกอบกิจการบนโลกออนไลน์ได้ แต่ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางอีกด้วย ด้วยปัจจัยหลายๆ ด้านที่เอื้อต่อการขายของออนไลน์ รวมไปถึงการพัฒนาและขยายตัวของกระบวนการการสื่อสารทั่วโลกที่มากขึ้น และเข้าถึงได้อย่างสะดวก ทำให้การแข่งขันในการขายของออนไลน์ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ดังนั้นหากคุณกำลังจะหันมาขายของออนไลน์ ตอบ 3 คำถามนี้ให้ได้ก่อน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมลงสนามจริง!

คำถามที่ 1…ขายอะไร?  

ก่อนจะขายของออนไลน์ เราต้องศึกษาตลาดและตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะขายให้ได้ก่อน และทำความเข้าใจรวมถึงศึกษาแหล่งรับสินค้ามาขาย ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายวิธี

ขายของออนไลน์
  • สินค้าที่ออกแบบและผลิตเอง : หากเราสามารถออกแบบและผลิตสินค้าเองได้ ก็สามารถนำสินค้าตรงนี้มาขายของออนไลน์ได้เลย สิ่งที่เราต้องคิดต่อคือเรื่องของราคาการจัดส่งที่แปรผันตามขนาดและน้ำหนักของสินค้า คุณสามารถเลือกออกแบบใหม่ให้สามารถลดต้นทุนจุดนี้ได้ โดยไม่กระทบกับคุณภาพสินค้า
  • สินค้าสั่งผลิตตามแบบของเรา : เพียงติดต่อกับทางโรงงานผู้ผลิตที่รับทำสินค้านั้นๆ ตามดีไซน์และรูปแบบที่เราต้องการ อาจเป็นการพัฒนาสินค้าที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นก็ได้
  • ซื้อเหมามาขายปลีก : ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีนี้ในการหาสินค้ามาขายบนร้านค้าของตัวเอง อาจจะได้กำไรต่อชิ้นน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตเอง แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น เครื่องจักร หรือวัสดุในการผลิต รวมถึงสามารถหมุนเวียนสินค้าได้ง่ายกว่า
  • สั่งผลิตภายใต้แบรนด์ตัวเอง : สำหรับใครที่อยากมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง แต่ยังไม่มีเงินทุนในการผลิตใหม่ทั้งหมด สามารถสั่งผลิตสินค้าจากโรงงาน และติดแบรนด์ตัวเองได้ เป็นที่นิยมสำหรับสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • สินค้า Drop Ship : การขายของออนไลน์ประเภทนี้ใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องซื้อของมาสต็อกไว้ ลักษณะเหมือนตัวแทนขายสินค้าประเภทไม่สต็อกสินค้า เมื่อมีการสั่งซื้อ ผู้ผลิตจะส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง แต่เราจะรายได้จะน้อยกว่าการสต็อกของเอง
  • สินค้าพรีออเดอร์ : สินค้าประเภทนี้จะผลิตก็ต่อเมื่อมีการสั่งซื้อเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการผลิตหรือสั่งซื้อตามความต้องการ พ่อค้าแม่ค้าไม่จำเป็นต้องสต็อกของเอง ข้อดี คือ ไม่ต้องกังวลว่าซื้อมาแล้วจะขายไม่หมด เพราะเป็นการสั่งซื้อตามจำนวนที่ลูกค้าสั่ง อ่านต่อ 5 ข้อต้องรู้! ก่อนเปิดร้านรับ ‘พรีออเดอร์’

จะเห็นได้ว่าสินค้าที่เราจะนำมาขายของออนไลน์มีด้วยกันหลายที่มา ขึ้นอยู่กับความต้องการและเงินลงทุนของเราเอง หากเงินลงทุนไม่มากนัก อาจเริ่มขายของออนไลน์โดยวิธี Drop ship อยากมีแบรนด์ของตัวเอง แต่ยังผลิตเองไม่ได้ ก็สั่งซื้อแล้วติดแบรนด์ตัวเองลงไป หากมีเงินทุนมากหน่อย อาจลองเป็นการซื้อเหมามาขายปลีกก็ได้ แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจขายสินค้าประเภทไหน ควรศึกษาเทรนด์สินค้านั้นๆ ในท้องตลาดก่อนเสมอ

คำถามที่ 2…จะขายของออนไลน์ที่ไหน? จ่ายเงินอย่างไร?

ขายของออนไลน์

ส่วนต่อมาถูกแบ่งเป็น 2 คำถาม ส่วนแรกคือ ขายที่ไหนดี? เพราะแพลตฟอร์มและรูปแบบการขายของออนไลน์ก็มีด้วยกันหลายช่องทาง การขายของออนไลน์ในปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จควรทำการขายแบบ Multichannel หรือหลายช่องทาง เพื่อช่วงชิงความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าของเราให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างช่องทางการขายดังนี้

  • สร้างเว็บไซต์ของตัวเอง: การสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง อาจจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงหากไม่สามารถทำเองได้ และการดูแลในส่วนต่างๆ ที่ยุ่งยากหน่อย โดยเฉพาะเรื่องของ Security ของข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงได้ อ่านต่อ 4 เหตุผลที่คนขายของออนไลน์ควรมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง   
  • เว็บไซต์ Marketplace ทั่วไป: เว็บไซต์ที่ทำให้เราขายของออนไลน์ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง ในเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีเครื่องมือ และฟีเจอร์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับเราและลูกค้าเข้าใช้งาน เช่น Shopee, Lazada, Alibaba หรือ Amazon
  • เว็บไซต์ Marketplace เฉพาะกลุ่มสินค้า: คล้ายกับเว็บไซต์ Marketplace ทั่วไป ที่แตกต่างคือ เป็นการขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น Etsy.com ที่เน้นขายสินค้ากลุ่มงานฝีมือ งานศิลปะ เป็นต้น  
  • เว็บไซต์ Blog ที่ขายสินค้าได้: การสร้างเว็บไซต์ Ecommerce ของตัวเองผ่าน website blog ต่างๆ เช่น WordPress ซึ่งเราสามารถเลือกปรับแต่งรูปแบบ website ของตัวเองได้ตามต้องการ
  • ขายบนโซเชียล: เป็นช่องทางที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ปัจจุบันแต่ละช่องทางบนโซเชียล มีฟีเจอร์ที่ให้เราสามารถขายของออนไลน์ได้ง่ายขึ้น เช่น Facebook shop, โพสต์บน intsagram ที่ซื้อของได้ หรือการขายผ่าน Pinterest เป็นต้น
  • ขายผ่าน Mobile App: วิธีนี้คือการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อขายสินค้า ผู้ขายของออนไลน์รายเล็ก ไม่นิยมใช้วิธีนี้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายและวิธีในการทำที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทาง แต่หากเรามีร้านค้าบน Maketplace ลูกค้าก็สามารถเข้าถึงร้านเราได้จากแอปพลิเคชั่นบน Marketplace
  • ขายบนเว็บไซต์ประมูล: ขายสินค้าบนเว็บไซต์การประมูล เช่น eBay ซึ่งครอบคลุมผู้ซื้อและผู้ขายของออนไลน์ทั่วโลก สามารถกำหนดกลุ่มความสนใจผู้ซื้อได้

จะเห็นได้ว่าการขายของออนไลน์แต่ก่อน เราสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของเพียงทางเดียว แต่ปัจจุบันผู้ขายของออนไลน์ควรใช้ช่องทางหลายช่องทางบนออนไลน์เพื่อขายสินค้า ทำให้มีโอกาสในการเกิดการขายมากขึ้นตามไปด้วย เหมือนที่ Watson กล่าวไว้ว่า ผู้ขายของออนไลน์ต้องเข้าใจว่า การขายสินค้าและการทำการตลาดจะถูกรวมอยู่ในโลกออนไลน์เดียวกัน

ส่วนที่สอง คือจ่ายเงินอย่างไร แนะนำให้มีวิธีการชำระค่าสินค้าให้หลากหลาย เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า ไม่ว่าจะจ่ายแบบโอนเงิน จ่ายด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต แม้แต่ Cash on delivery หรือชำระเงินปลายทาง ให้ลูกค้าสามารถเลือกช่องทางที่สะดวกได้ด้วยตัวเอง

คำถามที่ 3…เก็บ แพ็ค ส่งสินค้าอย่างไร?

ขายของออนไลน์

ส่วนสุดท้ายที่คนขายของออนไลน์ต้องมีการจัดการที่ดีคือ การเก็บ แพ็ค และส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า หรือที่เรียกว่า Fulfillment  เพราะจะต้องมีการจัดการที่ดีและมีระบบ โดยที่สต็อกของต้องไม่ขาด แพ็คสินค้าอย่างดี และส่งสินค้าในราคาถูกและรวดเร็ว หากเกิดปัญหากับกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ภาพลักษณ์ธุรกิจของคุณสั่นคลอน และแข่งขันกับเจ้าอื่นได้ยากขึ้น กระบวนการ fulfillment มีให้เลือกนำมาปรับใช้อยู่ 4 แบบหลักๆ

  • In-house fulfillment: เป็นการเก็บ แพ็คและจัดส่งสินค้าด้วยตัวเอง ผู้ขายของออนไลน์อาจใช้บริการจัดส่งเอกชนได้ วิธีนี้เหมาะกับผู้ขายของออนไลน์รายเล็ก เนื่องจากต้นทุนต่ำที่สุด นอกจากนี้ระหว่างการดำเนินการก็จะได้ศึกษาและเข้าใจปัญหาเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดได้ อ่านต่อ รวม 14 บริษัทขนส่งที่คนขายของออนไลน์ต้องห้ามพลาด! 2021
  • Outsource fulfillment: การใช้บริการ Fulfillment จาก Outsource เป็นที่นิยมของผู้ขายของออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก เพราะทำให้สามารถโฟกัสกับการทำธุรกิจ และการเลือกแหล่งสินค้ามากขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายถูกกว่าการจ้างแรงงานในส่วนของคลังสินค้าด้วยตัวเอง และง่ายต่อการเพิ่มหรือลดปริมาณให้สอดคล้องกับยอดขาย
  • Drop-ship fulfillment: วิธีการนี้จะสอดคล้องกับวิธีการขายสินค้าแบบ Drop-ship ผู้ผลิตจะทำการเก็บ แพ็ค และจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง เราไม่จำเป็นต้องเก็บ แพ็ค ส่งของเอง วิธีนี้เราจะได้รายได้น้อยหน่อย แต่ไม่ต้องลงทุนมาก
  • Fulfillment แบบผสม: เป็นการใช้วิธี Fulfillment ที่ผสมผสาน 3 แบบแรกเอาไว้ เช่น ปกติใช้บริการ Fulfillment ที่เป็น outsource หากต้องการขยายธุรกิจ ก็เลือก Drop-Ship เป็นวิธีเสริมเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก

สำหรับการขายของออนไลน์ การเก็บ แพ็ค ส่งสินค้า เป็นส่วนที่ต้องใช้ทุนสูงเช่นกัน และไม่ควรใช้เวลานานไปกับส่วนนี้ เพื่อให้เรามีเวลาในการโฟกัสอยู่กับการทำธุรกิจด้วย ดังนั้นควรเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเองที่สุด

ทั้งหมดนี้เป็น 3 คำถามหลักๆ ที่คนขายของออนไลน์ต้องตอบให้ได้ ว่าจะทำอย่างไรกับแต่ละขั้นตอนก่อนการเริ่มขายของออนไลน์ เพราะการขายของออนไลน์เริ่มต้นไม่ยากนัก แต่จะแข่งขันเพื่อให้อยู่รอด ก็ต้องมาพร้อมกับการจัดการที่ดี และการตัดสินใจที่ถูกต้องด้วยค่ะ

ส่วนใครที่ตอบคำถามตัวเองได้แล้ว ไปเตรียมเช็กลิสต์ไอเทมต้องมีสำหรับเปิดร้านขายของออนไลน์ ได้ที่ Check list ไอเทมต้องมี! สำหรับคนอยากขายของออนไลน์ เตรียมพร้อมรับยอดขายสุดปัง และเข้ามาช้อปไอเทมราคาดีได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate ซื้อครบ 499 บาท มีบริการส่งฟรีด้วยนะ!

ข้อมูลจาก: fitsmallbusiness.com

สร้างเว็บไซต์ของตัวเองง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว กับ Wix แพลตฟอร์มเพื่อการสร้างสรรค์ ออกแบบ จัดการ และพัฒนาเว็บไซต์ออนไลน์ มีเทมเพลตจากนักออกแบบมืออาชีพให้เลือกกว่า 500 รูปแบบ ตอบโจทย์ธุรกิจทุกประเภท ใช้งานง่าย ปรับแต่งได้เอง เพียงลากแล้ววาง ทั้งยังรองรับการใช้งานบนมือถือ แสดงผลได้ดีเหมาะกับทุกอุปกรณ์ อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง คลิกสร้างกับ Wix ได้เลย!