เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2018 และชะลอตัวรุนแรงขึ้นในปี 2019 จนหลายๆ คนคาดการณ์กันว่าในปี 2020 โลกอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นแน่

สาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 2020

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ อันดับแรกคาดการณ์กันว่ามาจากการเดินทางเข้าสู่ปลายวัฏจักรของการเติบโต (Late cycle) เป็นการชะลอตัวของเศรฐกิจโลกที่เกิดขึ้นตามวัฏจักรในช่วงระยะเวลาประมาณ 7-10 ปี แต่ในครั้งนี้การชะลอตัวกลับรุนแรงขึ้น เพราะถูกกระตุ้นจากหลายเหตุการณ์ เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน, ความไม่แน่นอนของ Brexit รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาที่กำลังใกล้เข้ามา ทำให้หลายๆ อย่างผันผวน จนกระทบกับเศรษฐกิจในภาพรวมนั่นเอง

จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2019 มีอัตราการเติบโตต่ำลง ทั้งยังเผชิญกับการแข็งตัวของค่าเงินบาท ที่ส่งผลให้มีการส่งออกน้อยลง การลงทุนในภาคเอกชนลดลง และรายได้จากการท่องเที่ยวก็น้อยลงเช่นกัน ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2020 จึงตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน เมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศมาถึงจุดที่กำลังวิกฤต ธุรกิจต่างๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่หากไม่มีการปรับตัว ก็อาจจะต้องโบกมือลา ปิดกิจการกันไปในปีหน้าแน่นอน

ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการธุรกิจอาจต้องเผชิญในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2020

ความเสี่ยงที่ว่านี้ คือเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะเมื่อเศรษฐกิจมีการชะลอตัว ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะมีกำลังซื้อต่ำลง ผู้ประกอบการจึงอาจต้องชะลอการผลิตสินค้า ทำให้รายรับหรือกำไรตกต่ำ ครั้นจะไปแข่งขันกับผู้ค้ารายใหญ่ก็ลำบาก ทั้งยังต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากจะทำการตลาดหรือทำธุรกิจแบบเดิมๆ อยู่ก็คงไปไม่รอด เหล่าผู้ประกอบการจึงควรทำการบ้านให้หนักขึ้น

วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ สำหรับเหล่าผู้ประกอบการ ในการเตรียมตัวให้พร้อมเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ไปดูกันเลยค่ะ

เทคนิคการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจ 2020 เจ้าของธุรกิจเตรียมตัวยังไงให้อยู่รอด

ปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

การจะทำธุรกิจให้อยู่รอดในยุคดิจิตอล ผู้ประกอบการจะต้องปรับธุรกิจให้เข้ากับเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ที่ในปัจจุบันมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนโลกโซเชียล และอัตราการใช้โซเชียลมีเดียในเมืองไทยยังสูงเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชียอีกด้วย การทำธุรกิจที่มีเพียงหน้าร้านแบบออฟไลน์จึงอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป

หากอยากสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจ พาธุรกิจเติบโตสวนกระแสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ คุณอาจต้องเพิ่มช่องทางการขายโดยใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย หรือเพิ่มหน้าร้าน (แฟรนไชส์) ให้มากขึ้น หรือจะผสมผสานทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน ให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่าย นอกจากเรื่องการขาย การชำระเงินก็เช่นกัน ลองเปิดช่องทางการชำระเงินให้หลากหลาย ให้จ่ายได้ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงบริการส่งของที่รวดเร็วและมีคุณภาพ สินค้าไม่เสียหาย หรือสามารถนัดรับได้ในสาขาที่ใกล้บ้าน ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคเรื่องการประหยัดเวลาและประหยัดค่าเดินทาง เพราะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคก็น้อยลงไปด้วย หากเราสามารถช่วย save cost เล็กๆ น้อยๆ ได้ ก็จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านเรานั่นเองค่ะ

ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง จับเงินสดไว้ในมือให้นานที่สุด

การทำธุรกิจให้มั่นคงต้องมีสภาพคล่องทางการเงิน ผู้ประกอบการบางคนให้ความสำคัญอยู่กับการสร้างยอดขาย แต่ละเลยการบริหารจัดการเงินที่ได้มา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง เพราะไม่รู้ว่ารายได้ที่เข้ามานั้นมาจากอะไร แล้วต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง เมื่อขาดการจัดการที่ดี นำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายหรือชำระหนี้จนหมด ไม่เหลือไว้เป็นเงินสำรอง ธุรกิจก็จะขาดสภาพคล่องและสะดุดจนอาจจะไม่สามารถเดินต่อไปได้

การคงสภาพคล่องทางการเงิน คือต้องทำให้ธุรกิจของเรามีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ตลอด เงินสดต้องไม่ขาดมือ วิธีการบริหารจัดการเงินที่ดีคือการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และต้องแยกเงินที่ใช้จ่ายส่วนตัวออกจากเงินที่ใช้ดำเนินธุรกิจ แล้วทำการเบิกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจอย่างเป็นระบบ อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราจับเงินสดไว้ในมือได้นานขึ้นและมีเงินหมุนเวียนอยู่ตลอด นั่นก็คือการขอเครดิตเทอม

เครดิตเทอม หรือการขอเครดิตเทอม เป็นการที่ผู้ประกอบการตกลงกับร้านค้าวัตถุดิบ เพื่อขอนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปใช้ก่อนแล้วค่อยนำเงินมาจ่ายทีหลัง ยกตัวอย่างเช่น สมชายเปิดร้านขายเบเกอรี แล้วสั่งซื้อแพคเกจจิ้งสำหรับใส่เบเกอรีจาก OfficeMate สมชายสามารถขอเครดิตเทอมจาก OfficeMate เพื่อนำแพคเกจจิ้งไปใช้ก่อน แล้วค่อยนำเงินที่ได้จากการขายนั้นมาจ่ายค่าแพคเกจจิ้งทีหลัง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเงินสดสำหรับหมุนเวียนธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องทำเงินที่ได้มาไปจ่ายเป็นค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งหมดในรวดเดียวนั่นเอง

ใช้บริการเครดิตเทอมจาก OfficeMate คลิก!

บริหารจัดการสินค้าคงคลังให้อยู่หมัด

สต๊อกสินค้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งในยุคที่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ลูกค้ามีกำลังซื้อลดลง การจัดเก็บสินค้าปริมาณมากไว้ในสต๊อกจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า เป็นต้น และถ้าหากสินค้านั้นเป็นสินค้าอายุสั้น เช่น สินค้าที่มีวันหมดอายุ ของขวัญตามเทศกาล หรือเสื้อผ้า ที่มีวันหมดเทรนด์ การสต๊อกเอาไว้เยอะๆ แล้วขายได้ไม่หมด ก็จะเป็นการลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งยังทำให้ขาดทุนอีกด้วย

วิธีบริหารสินค้าในสต๊อกหรือสินค้าคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น ยอดขายของสินค้านั้นๆ ในอดีต, คุณสมบัติของสินค้า, ความนิยมในตัวสินค้า (สินค้าตามฤดูกาล/สินค้าตามเทรนด์), ประเภทของสินค้า รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ ที่อาจกระทบถึงสินค้าบางประเภท เป็นต้น เมื่อพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ แล้วก็ค่อยวางแผนว่าจะสั่งสินค้าชนิดไหนมาสต๊อกเพิ่ม หรือลดการสั่งสินค้าชนิดไหนลงได้บ้าง

ปัจจุบันมีระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการและลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าหรือสต๊อกสินค้าได้ เรียกว่า e-Procurement สำหรับธุรกิจหรือองค์กรใหญ่ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้าง หากใช้บริการ e-Procurement ก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนนั้นลงได้ รวมถึงลดต้นทุนค่าใช้จ่ายแฝงในการสั่งซื้อ เช่น ค่าโทรศัพท์, ค่า Fax, ค่ากระดาษ, ค่าหมึกพิมพ์ เป็นต้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องสต๊อกสินค้าเองอีกต่อไป ไม่ต้องมีพื้นที่จัดเก็บ ไม่ต้องมีบุคคลากรคอยดูแล เพราะผู้ให้บริการ e-Procurement จะทำการสต๊อกและดูแลสินค้าให้เอง เมื่อลดต้นทุนลงไปได้ คุณก็สามารถนำเงินหรือกำไรที่ได้ไปลงทุนกับธุรกิจในส่วนอื่นๆ ได้นั่นเองค่ะ

หาวิธีเพิ่มลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิม

การสร้างฐานลูกค้า คือหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ วิธีการสร้างฐานลูกค้าที่ได้ผลต้องเริ่มตั้งแต่การสร้าง First impression หรือสร้างความประทับใจแรกให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าของเรา ทำให้ลูกค้าประทับใจตั้งแต่แรกเริ่มจนจบการขาย และถึงแม้จะขายสินค้าได้ไม่สำเร็จ แต่เชื่อเถอะค่ะ ว่าครั้งต่อไป หากจะซื้อสินค้า ลูกค้าจะนึกถึงร้านของเราเป็นอันดับแรกๆ แน่นอน และยังอาจมีการปากต่อปาก ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจและเป็นการโฆษณาโดยที่เราไม่ต้องลงทุนเองอีกด้วย

แต่ถึงอย่างนั้น การรักษากลุ่มลูกค้าเดิมหรือลูกค้าเก่าก็สำคัญไม่แพ้กัน ลองมอบสิทธิพิเศษ เช่น ส่วนลด โปรโมชั่น หรือบริการพิเศษอื่นๆ ให้ลูกค้าที่เคยใช้บริการรู้สึกเป็นคนสำคัญ จะช่วยสร้าง Brand Loyalty ได้เป็นอย่างดี ฟีเจอร์หนึ่งที่เราอยากแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกค้าประจำ คือการจดจำสินค้าที่ลูกค้าแต่ละคนเข้ามาซื้อบ่อยๆ หรือทำฟีเจอร์ ‘Favourite’ ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มสินค้าที่ตัวเองต้องซื้อซ้ำบ่อยๆ เอาไว้ จะได้ไม่ต้องคอยนั่งหาเมื่อต้องการซื้อในครั้งต่อไป จะช่วยประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้มากเลยทีเดียวค่ะ

เมื่อเราสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้และสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจรูปแบบไหนก็รับมือได้แน่นอน

ถึงจะต้องเสี่ยงเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ก็อย่าหยุดทำการตลาด

แม้การทำการตลาดจะมีต้นทุน แต่ถ้าเราทำการตลาดอย่างถูกวิธี ตรงจุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็จะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา และในช่วงเสี่ยงที่จะเข้าสู่ยุควิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ ผู้ประกอบการคงต้องทำการตลาดอย่างหนัก เพื่อดึงลูกค้าเอาไว้ แต่ก็ต้องวางแผนเลือกวิธีที่จะคุ้มทุนมากที่สุด เพื่อ Save ธุรกิจของตัวเอง

ในความเป็นจริง การทำการตลาด คือการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง หาสิ่งใหม่ๆ กระบวนการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการให้โดดเด่น หรือลงทุนกับการตลาดที่สามารถทำให้ผู้คนในวงกว้างรู้จักสินค้าของเรา แต่ถ้าต้องการ Save budget ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และทำการตลาดโดยนำเสนอสินค้าในแง่มุมที่กลุ่มเป้าหมายของเราให้ความสนใจ จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการซื้อสินค้าได้ เพียงเท่านี้ก็ตอบโจทย์ ไม่ต้องลงทุนทำการตลาดแบบอื่นแล้วล่ะค่ะ

ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักด้วยช่องทาง Marketplace

อย่างที่บอกว่าในยุคดิจิตอลแบบนี้ การขายของผ่านหน้าร้านเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ เราขอแนะนำช่องทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้สินค้าของคุณเป็นที่รู้จัก คือ Marketplace ที่เปรียบเสมือนตลาดให้เราเอาสินค้าเข้าไปขายได้ การขายสินค้าผ่าน Marketplace อย่างการลงขายผ่านเว็บไซต์ OfficeMate ของเรา จะช่วยประหยัดต้นทุนให้คุณได้หลายทาง ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องสร้างหน้าร้านเอง ไม่ต้องเสียเงินพัฒนาแพลทฟอร์ม ไม่ต้องโปรโมทสินค้าหรือทำการตลาดด้วยตัวเอง ทั้งยังมีฐานลูกค้าจากผู้ให้บริการ Marketplace แถมให้ ผู้ประกอบการจึงมีหน้าที่เพียงแค่อัพเดตสินค้าให้พร้อมขายอยู่เสมอเท่านั้น เรียกว่าสะดวกสบายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ลองสร้างสังคมให้กับธุรกิจของคุณ ให้มีช่องทางที่สามารถประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของเราไปสู่กลุ่มลูกค้า และเปิดให้ลูกค้าสามารถส่ง Feedback หรือติดต่อกับเราได้ เช่นการใช้โซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ การรับ Feedback ยังเป็นการช่วยพัฒนาธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบไม่เป็นทางการ ทำให้เรารู้จุดแข็ง จุดอ่อนของสินค้า รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราชื่นชอบอะไรและไม่ชอบอะไร ทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้า ให้เรารับเงินได้จากหลายทางมากขึ้นอีกด้วย

ลองมาดูข้อดีและข้อเสียของแต่ละช่องทางก่อนเปิดร้านขายของออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย คลิก!

สุดท้ายนี้ อีกหนึ่งเทคนิคการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกคนควรให้ความสำคัญ คือ การทำธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ พัฒนาสินค้าและบริการของเราให้ดีขึ้น คอยดูแลลูกค้าให้ดีอยู่เสมอ และที่สำคัญคือต้องไม่ประมาท เพียงเท่านี้ไม่ว่าคุณจะต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงแค่ไหน OfficeMate ก็เชื่อว่าคุณจะเอาอยู่แน่นอน

ติดตามบทความอื่นๆ จากเราได้ที่ OfficecMate.co.th/blog หรือเข้ามาช้อปสินค้าคุณภาพที่คัดสรรมาอย่างดี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คลิก! OfficeMate

0 CommentsClose Comments

Leave a comment