ทุกวันนี้โลกของเราเริ่มร้อนขึ้นทุกวันและมีแนวโน้มว่าจะร้อนขึ้นอีกในอนาคต ข่าวลือที่ใกล้จะเป็นจริงเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก กำลังส่งผลกระทบต่อจิตใจใครหลายคน แต่เรื่องร้ายกลับมีเรื่องดีอยู่ในนั้น ขณะที่คนกลุ่มหนึ่งกำลังวิตกกับเรื่องเหล่านี้ คนอีกกลุ่มได้ลุกขึ้นมาปลุกความรัก(ษ์)โลกให้ตื่นขึ้นจากใจใครหลาย ๆ คน ทำให้กระแสอนุรักษ์นิยมกลับมาบูมขึ้นอีกครั้ง ช่วงที่กระแสอนุรักษ์นิยมกำลังมาแรง ดารานักร้องต่างทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมและถูกถ่ายทอดออกอากาศทั้งทางโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ผู้คนแห่กันออกมาทำกิจกรรมรักษ์โลกอย่างแน่นขนัด แล้วถ้าเราอยากร่วมอนุรักษ์โลกบ้างล่ะ ต้องทำยังไง ? ผมมีสิ่งดี ๆ มาบอกสำหรับสายอนุรักษ์ฝึกหัดครับ คุณเริ่มต้นง่าย ๆ วันนี้ที่บ้านด้วยตัวเองกับ “บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก”[su_spacer size=”40″]

โลกสวยด้วยตัวเรา

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกกับบรรจุภัณฑ์ทั่วไป

    ต้องยอมรับเลยครับว่า ก่อนที่กระแสอนุรักษ์นิยมจะเข้ามา โลกของเราถูกทำร้ายหนักเหลือเกิน ทั้งมลพิษทางอากาศ ขยะที่ไม่ย่อยสลาย รวมถึงการล่าสัตว์ที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียกับระบบนิเวศของโลกกลม ๆ ใบนี้ทั้งสิ้น แต่หลังจากคนส่วนใหญ่ตระหนักได้ถึงความบอบช้ำของดวงดาวสีฟ้า ก็ได้มีการปลุกกระแสอนุรักษ์นิยมให้กลับขึ้นมาบูมอีกครั้ง ข้าวของ เครื่องใช้ที่เคยเป็นภัย ก็ได้เปลี่ยนเป็นภาชนะรักษ์โลกหรือบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแตกต่างกับบรรจุภัณฑ์ธรรมดาในเรื่องของขั้นตอนการผลิต วัสดุของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะทำมาจากธรรมชาติ อาทิ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง นำมาผ่านการกระบวนการเฉพาะ มีคุณสมบัติก็คือ สามารถย่อยสลายได้เกือบจะ 100% และใช้เวลาในการย่อยไม่นาน ต่างกับบรรจุภัณฑ์ทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ อย่าง โฟม หรือ พลาสติก ซึ่งส่งผลเสียกับโลกเราอย่างมหันต์ในหลายด้าน เช่น ขยะที่เพิ่มขึ้นจากการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี และการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็น ฉะนั้น วัตถุประสงค์หลักในการคิดค้นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกขึ้นมา จึงช่วยเรื่อง การย่อยสลายและลดปริมาณขยะ ช่วยลดมลพิษ มีน้ำหนักเบา สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการผ่านกรรมวิธีที่ถูกต้อง ประสิทธิภาพการใช้งานและหน้าตาของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแทบไม่แตกต่างกันเลย แต่สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเป็นหลัก คือ ประสิทธิภาพในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง[su_spacer size=”40″]

พลาสติกเป็นภัยกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก

เทรนด์อนุรักษ์นิยมกับการปรับตัวของโลกธุรกิจ

     นอกจากวิถีชีวิตของคนรักษ์โลกที่กำลังเปลี่ยนไป โดยหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ที่เน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในโลกธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำการปรับตัวเช่นกัน โดยอันดับแรกที่พวกเขาทำ คือ ธุรกิจหลาย ๆ แบรนด์ได้ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของพวกเขาให้เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เช่น แก้วกาแฟที่ทำจากกระดาษ ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากกระดาษ เป็นต้น เพราะเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายที่สุดและใช้เวลาที่ไม่นานอีกต่างหาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนี้นอกจากจะลดงบประมาณเรื่องการผลิต ยังส่งผลดีในเรื่องภาพลักษณ์ขององค์กรที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัวด้วย และแน่นอน สิ่งที่เป็นของคู่กันสำหรับธุรกิจกับลูกค้า ก็คือ โปรโมชัน ทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น องค์กรมากมายต่างงัดกลยุทธ์เด็ด ๆ ออกมาประชันกัน ในปัจจุบันมีธุรกิจหลายรายออกโปรโมชันให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภคที่มีใจรักษ์โลกได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดวงดาวดวงนี้ เช่น ใครนำภาชนะมาเองจะได้ส่วนลด หรือมีการสะสมแต้มเพื่อแลกของรางวัลหากไม่รับถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโปรเจ็กและธุรกิจใหม่ ๆ มากมาย อย่างแก้วกาแฟรักษ์โลกจาก Truth Coffee ที่เปลี่ยนจากแก้วกาแฟใช้แล้วให้เป็นกระถางต้นไม้ หรือจะเป็นพลาสติก PLA ที่ทำจากพืช 100% ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลดีต่อโลกไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอนครับ [su_spacer size=”40″]

ร่วมรักษ์โลกง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน

     อย่างที่วลียอดฮิตได้กล่าวไว้ว่า “ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา…” สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ Event นี้ได้เหมือนกัน ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแทนบรรจุภัณฑ์ธรรมดาทั่วไป เป็นการช่วยโลกแบบคูล ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง วันไหนไปซื้อของร้านสะดวกซื้อ ก็ขอไม่รับถุงพลาสติก โดยเตรียมถุงผ้าไปเอง และการเลือกซื้อของที่แพ็คเกจเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ใครอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ทำแล้วไม่มีใครเห็น แต่ความจริงก็เป็นเพียงมุมมองที่ต่างออกไปเท่านั้น เพราะถึงยังไง “จะสุขจะทุกข์ก็อยู่ที่ตัวเรา” เริ่มตั้งแต่วันนี้เรามาเชิญชวนคนรอบข้างให้เดินแนวทางเดียวกันดีกว่า ถือเป็นการรณรงค์แบบย่อม ๆ ถึงจะเป็นวิธีที่ง่ายแต่ได้ประสิทธิภาพที่ดีเกินคาดนะครับ เมื่อทุกคนร่วมมือกันคนละไม้คนละมือ โลกจะต้องกลับมาดีขึ้นแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก www.smethailandclub.com / www.hongthai.co.th

0 CommentsClose Comments

Leave a comment